สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,422,473 |
เปิดเพจ | 17,077,227 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พจนานุกรมเพื่อการเรียนรู้คำไทยทั่วไป
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
978-974-844-8367
-
เข้าชม
3,168 ครั้ง
ยี่ห้อ
พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดี-สุรเตโช-ป.ธ.๙-ราชบัณฑิต
รุ่น
ปกแข็งUV-Spot-เย็บกี่อย่างดี
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
16/02/2012 11:44
-
รายละเอียดสินค้า
พจนานุกรม เพื่อการเรียนรู้คำไทยทั่วไป
ภาษาชาวบ้าน
โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี)
ขนาด 18.5*23.5 แข็ง เย็บกี่ อย่างดี
กระดาษถนอมสายตา สีครีม จำนวน 368 หน้า
........................................................................................
คำชี้แจง
๑. หนังสือนี้มิได้มุ่งให้เป็นวิชาการ มิได้มุ่งให้นำไปอ้างอิง
ปากมุ่งเพียงให้อ่านกันเล่นสนุกๆ เพลินอารมณ์ และเพียง
ให้รู้ว่า มีคำเช่นนี้อยู่ในท้องตลาด ใช้พูด ใช้เขียน กันอยู่
ตามสื่อ ตามวงสนทนา และในชีวิตประจำวันทั่วไป แม้ว่า
คำส่วนใหญ่จะไม่มีการรับรองสถานะโดยถูกต้องเป็น
ทางการ คือ ไม่ได้ถูกเก็บไว้ในพจนานุกรมของทางราชการ
ก็ตาม ดังนั้นจึงมิได้บอกฐานะของคำตามหลักไวยากรณ์ไทย
ไว้ว่าคำนี้ เป็นคำนาม เป็นคำกริยา หรือเป็นคุณศัพท์
เหมือนคำในพจนานุกรมทั่วไป เพียงแต่เรียงคำตามแบบ
พจนานุกรมทั่วไปเพื่อสะดวกแก่การค้นหาเท่านั้น
เพราะโดยข้อเท็จจริงผู้ที่ค้นหาคำประเภทนี้ ส่วนมากก็เพียง
ต้องการทราบว่า คำนี้มีความหมายอย่างไรเท่านั้น คงไม่ต้องการ
ทราบไปไกลถึงว่า คำนี้เป็นคำประเภทไหนตามหลักไวยากรณ์ไทย
๒.คำที่รวบรวม เก็บไว้นี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาษาชาวบ้าน
เท่านั้น ยังมีที่มิได้เก็บไว้อีกมาก เพราะภาษาปากหรือภาษาพูดมีมาก
ด้วยกัน โดยเฉพาะคำที่มีความหมายตามรูปคำตรงตัว ไม่มีความหมาย
พิเศษนอกรูปคำ และคำที่เป็นภาษาถิ่น คำเหล่านี้มิได้เก็บไว้ เพราะเห็นว่า
ไม่จำเป็นนักในระดับนี้ ทั้งพจนานุกรมที่เป็นของราชการหรือของเอกชน
ก็เก็บคำประเภทนั้นไว้ค่อนข้างสมบูรณ์อยู่แล้ว ผู้สนใจสามารถค้นหาได้โดยไม่ยาก
๓. คำที่รวบรวมเก็บไว้นี้ ส่วนใหญ่เป็นคำพูดทั้งเป็นคำเก่า
และคำใหม่ ส่วนหนึ่ของคำใหม่เป็นคำที่พวกวัยรุ่นชอบพูดสื่อสารกันในหมู่
ของพวกของตัวเอง เป็นคำที่พูดกันในคนชนบท เป็นคำเฉพาะที่ใช้กันใน
วงการ เช่นวงการกีฬา และเป็นคำต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษ แต่ใช้พูด
กันจนเป็นที่เข้าใจกันดีแล้ว ดังนั้น คำบางคำจึงอาจไม่เป็นที่เข้าใจของเด็กรุ่นใหม่
บางคำอาจไม่คุ้นหูสำหรับผู้ใหญ่ และบางคำอาจดูไม่สุภาพ แต่ที่เก็บคำเช่นนั้น
ไว้ด้วยก็เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น
๔.การให้ความหมายคำมี ๒ ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นความหมายที่เป็นวัตถุประสงค์แท้จริง
ของผู้พูด ซึ่งส่วนใหญ่จะมิใช่ความหมายตามรูปคำเดิม และอีกส่วนหนึ่ง คือ ให้ความหมาย
ตามรูปคำเดิม ส่วนนี้ได้แสดงไว้ในวงเล็บ และใช้คำว่า "คำหลัก" เป็นคำขึ้นต้น เช่นว่า
กรงเล็บ อำนาจหรืออิทธิพล ที่แผ่ขยายไปปกคลุม
ครอบงำอย่างกว้างขวาง. เช่นคำว่า "ประเทศเล็กๆ
ต่างตกอยู่ภายใต้กรงเล็บของชาติมหาอำนาจ"
(คำหลัก กรงเล็บ กลุ่มเล็บเท้าของแมวหรือเหยี่ยวที่
กางออกเพื่อขยุ้มจับเหยื่อ.)
ถูไถ พอแก้ขัดไปได้, ยังพอใช้แก้ขัดได้. เช่น
"รายได้แค่นี้ก็พอถูไถไปจนถึงปลายเดือนได้" (คำหลัก
ถูไถ สัมผัส เสียดสีไปมา.)
ในตัวอย่างข้างต้น ผู้พูดต้องการให้เข้าใจความหมายอย่างหนึ่ง
แต่รูปคำเดิม หรือคำหลักมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง
๕. คำที่อยู่ในวงเล็บ และความหมายนั้น ส่วนใหญ่นำมาจาก
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพราะเป็นหลักฐานทางวิชาการ
ที่ยอมรับกันอยู่ทั่วไปแล้ว ที่นำของท่านมาใส่เข้าไว้ด้วยก็เพื่อเปรียบเทียบ
กันว่าคำนี้ผู้พูดต้องการสื่อความหมายอย่างนี้ แต่ความหมายตามรูปคำเป็นอีกอย่างหนึ่ฃ
ทั้งต้องการจะเผยแพร่เกียรติคุณของนักปราชญ์ราชบัณฑิตรุ่นเก่า
ที่ให้ความหมายคำนั้นๆ ไว้เป็นหลักฐานมาแต่โบราณ
๖. ตัวอย่างคำพูดที่แสดงไว้นั้น เป็นภาษาพุดจริงๆ ฉะนั้น
จึงอาจเป็นคำที่สมัยนี้สมมติกันว่า ไม่สุภาพ เป็นคำหยาบ เป็นคำแสลง
หรือเป็นการใช้คำที่ผิดหลัดไวยกรณื แต่เพราะต้องการให้เสียงและคำเป็นไป
ตามธรรมชาติที่ใช้จริงๆ ในลักษณะนั้น จึงได้ใช้อย่างที่ปรากฏอยู่ ลักษณะนี้
ก็เหมือนกับคำที่ใช้กันในวงการนวนิยายเป็นต้นนั่นเอง เช่นคำว่า เนี่ย ยังไง ไม่งั้น ซีน่า เป็นต้น
๗. รูปคำที่ใช้ โดยเฉพาะคำที่มาจากภาษาอังกฤษ มีการเขียนแตกต่างกันมาก แต่ในที่นี้
ได้ยึดแนวของราชบัณฑิตยสถานเป็นหลัก เช่นคำว่า discotheque ทั่วไปใช้กันว่า ดิสโก้เธค
แต่ราชบัณฑิตใช้ว่า ดิ๊สโก้เถ็ก จึงเก็บไว้ในที่นี้ว่า ดิ๊สโก้เถ็ก ดังนี้เป็นต้น
ซึ่งคำในลักษณะนี้มีมาก จึงอาจสร้างความสับในให้ผู้อ่านได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ข้อนี้
ผู้สนใจสงสัยสามารถสอบถามความถูกต้องได้ที่ ราชบัณฑิตยสถาน โทร.02-356-466 ต่อ 3023
๘.สำหรับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ได้บอก ที่มาไว้ด้วย
แต่มิได้บอกคำแปลในภาษาเดิมทุกคำ เพราะจะกลายเป็นการเรียนรู้ภาษานั้นๆไป
ให้รู้ว่าคำนั้นๆ มาจากภาษาอะไรก็น่าจะเพียงพอแล้ว สำหรับการเรียนรู้ภาษาไทยระดับพื้นฐาน
๙. หนังสือเล่มนี้ ไม่ถึงนำไปอ้างอิงทางวิชาการ เพราะไม่สมบูรณ์
ตามหลักวิชาการ เป็นได้แค่ให้อ่านเล่นๆ พอเป็นเครื่องประเทืองปัญญาในด้านภาษาไทยเท่านั้น
๑๐. ความบกพร่องในหนังสือเล่มนี้ย่อมมีอยู่แน่นอน ขอท่านผู้รู้ได้
ช่วยแนะนำหรือชี้ข้อผิดพลาดให้ด้วย เพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องสืบไป
พระธรรมกิตติวงศ์ 19 มีนาคม 2553
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พจนานุกรมเพื่อการเรียนรู้... ราคา 399.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
คำพ่อคำแม่ มอบแด่ลูกอันเป็นที่รักยิ่ง…
รหัส : 978-974-7251012 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 04/04/2011 ผู้เข้าชม : 4,779คู่มือศึกษาพุทธศาสน์จากพระคัมภีร์
รหัส : 978-616-91007-0-6 ราคา : 399.00 ฿ อัพเดท : 16/02/2012 ผู้เข้าชม : 3,020 -
พจนานุกรมเพื่อการเรียนรู้คำไทยทั่วไป
รหัส : 978-974-844-8367 ราคา : 399.00 ฿ อัพเดท : 16/02/2012 ผู้เข้าชม : 3,168กิร..ดังได้สดับมา-๑๐๘เรื่องเล่าแฝงคติความคิดเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
รหัส : 978-611-0300-407 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 28/04/2012 ผู้เข้าชม : 3,905 -
คำพ่อคำแม่-มอบแด่ลูกอันเป็นที่รักยิ่ง-พระธรรมกิตติวงศ์-ราคา100บาท
รหัส : 978-616-03-0542-1 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 31/10/2012 ผู้เข้าชม : 6,124พระในบ้าน-พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดีสุรเตโช-ราคา38บาท
รหัส : 978-611-704-702-2 ราคา : 38.00 ฿ อัพเดท : 03/11/2012 ผู้เข้าชม : 2,546 -
ยอดปรารถนาของพ่อแม่-พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดีสุรเตโช-ราคา28บาท
รหัส : 978-616-268-057-1 ราคา : 28.00 ฿ อัพเดท : 03/11/2012 ผู้เข้าชม : 1,971สะกิจใจในธรรม-พระธรรมกิตติวงศ์-ราคา28บาท
รหัส : 978-616-268-083-0 ราคา : 28.00 ฿ อัพเดท : 29/09/2013 ผู้เข้าชม : 1,610