สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,422,076 |
เปิดเพจ | 17,076,830 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
คู่มือศึกษาพุทธศาสน์จากพระคัมภีร์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
978-616-91007-0-6
-
เข้าชม
3,020 ครั้ง
ยี่ห้อ
พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดี-สุรเตโช-ป.ธ.๙-ราชบัณฑิต
รุ่น
ปกแข็ง-ปั๊มทอง-เย็บกี่อย่างดี
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
16/02/2012 10:45
-
รายละเอียดสินค้า
ชาดกในธรรมบท - ปกแข็งเย็บกี่อย่างดีปั๊มทอง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต)
แปล และเรียบเรียง
คู่มือศึกษาพระพุทธศาสน์จากพระคัมภีร์
ขนาด 16.5*23.5 cmจำนวน 476 หน้า กระดาษถนอมสายตาสีครีมอย่างดี
....................................................................
ในพระพุทธศาสนา มีคัมภีร์อยู่ชุดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก
ควบคู่กับพระไตรปิฎก และคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์นั้น มีชื่อว่า "ธรรมบท"
เรียกชื่อเต็มว่า "อรรถกถาธรรมบท" คือจัดเป็นคัมภีร์ระดับอรรถกถา ซึ่งแต่งอธิบายขยาย
ความพระพุทธพจน์ ธรรมบทนี้รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวอินเดียใต้ ผู้รจนา คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่โด่งดังนั่นเอง
โดยท่านไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกอยู่ที่ประเทศศรีลังกา เมื่อประมาณเกือบหนึ่งพันปีมาแล้ว
เป็นคัมภีร์ที่ท่านยกพระบาลีพุทธพจน์
ซึ่งปรากฎอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท มาอธิบายขยายความ
พร้อมยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคต่างๆ ทำนองเป็นนิทาน หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น
ในสมัยพระพุทธองค์มาเล่าประกอบเพื่อให้สอดรับกับพระบาลีที่อ้างถึงและในเรื่องเล่านั้นเอง ท่านได้อ้างถึงชาดกไว้เป็นจำนวนมาก โดยระบุชื่อชาดก
ไว้บ้าง ไม่ได้ระบุชื่อแต่ยกพระคาถาในชาดกมาแสดงไว้บ้าง เป็นต้นว่า
นทีจรกชาดกํกเถตฺวา - พระพุทธเจ้าตรัสนทีจรกชาดกไว้ (ระบุชื่อชาดก) อิทํ ชาตกํ กเถสิ
-พระพุทธเจ้าตรัสชาดกนี้ไว้ (มิได้ระบุชื่อชาดก) เอวมาทีนิ ชาตกานิ กเถตฺวา
พระพุทธเจ้าตรัสชาดกเหล่านี้ไว้อย่างนี้ (ตรัสชาดกหลายชาดก แต่มิได้ระบุชื่อชาดก)
จึงทำให้ผู้ศึกษาอยู่เกิดความอยากรู้เนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ของชาดกตลอดมาชาดก...
คือ พระพุทธพจน์ที่ปรากฎในพระสัตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
แต่ปรากฏเป็นรูปร้อยกรองหรือพระคาถาล้วนๆ มิได้มีข้อความที่เป็นร้อยแก้วเลย
เมื่ออ่านชาดกในพระไตรปิฎกแล้วย่อมไม่ได้ใจความที่สมบูรณ์
ได้แต่รู้แค่คำแปลตามอักษรที่ปรากฎเท่านั้น สำหรับข้อความอันเป็นเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์
นั้นปรากฏอยู่ในอรรถกถาชาดกทั้งหมด ดังนั้น การที่จะรู้เรื่องชาดกได้สมบูรณ์ครบถ้วน
จำต้องอาศัยอรรถกถาชาดก เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้
ธรรมบท เป็นหนังสือ
ที่แต่งเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลี คณะสงฆ์ไทยกำหนดให้ใช้เป็นแบบเรียน
ทำนองเป็นหลักสูตรสำหรับนักเรียนบาลีชั้นประโยค ๑-๒ และ ป.ธ.๓ แบ่งเป็น ๘ ภาค ๘ เล่ม
ในธรรมบทนั้นท่านพระพุทธโฆษาจารย์ผู้รจนาได้อ้างถึงชาดก
ไว้จำนวนมากแต่มิได้มีรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น
จึงเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยบ้าง ต้องการรู้เรื่องที่สมบูรณ์บ้าน ครูอาจารย์ที่สอนบางท่านก็ไป
ค้นคว้ามาเล่าให้นักเรียนฟัง หรือนักเรียนบางรูปเมื่อสอบผ่านแล้วไปค้นคว้าหาอ่าน
จากอรรถกถาชาดกเองบ้าง
แต่ส่วนใหญ่ก็จะผ่านแค่แปลได้เท่านั้น มิได้สืบค้นต่อประการใด
จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทั้งครูอาจารย์และนักเรียนบาลีส่วนใหญ่พลาด
จากการเรียนรู้ชาดกในธรรมบทที่สมบูรณ์แบบกันตลอดมาเพื่อเพิ่มเติมในข้อนี้และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูอาจารย์
และนักเรียนบาลีในชั้นนี้ หรือที่สอบผ่านได้แล้วได้มีพื้นฐาน
ความรู้ชาดกต่างๆที่ปรากฏในธรรมบท
อันจะเป็นความสะดวกในเวลาสอนและเวลาแปลด้วยรู้เรื่องรายละเอียดของชาดกดีแล้ว
ทำให้แปลได้ถูกต้องตรงประเด็นของเรื่องโดยง่าย จึงค้นดูในธรรมบทั้ง ๘ ภาคว่า
มีชาดกที่ถูกอ้างถึงไว้กี่ชาดก มีชื่ออะไรบ้าง ปรากกว่าชาดกที่ถูกอ้างถึงมีทั้งหมด ๕๙ ชาดก
จากจำนวนชาดกที่ปรากฏในอรรถกถาเกือบ ๕๐๐ ชาดก ต่อจากนั้น ก็ค้นหาว่าชาดกแต่ละเรื่องนั้นอยู่
ในนิบาตอะไร วรรคอะไรเป็นต้น
จากหนังสืออรรถกถาชาดกทั้งที่เป็นภาษามคธ และที่ท่านแปลกันไว้แล้ว................................................................................................
คำนำสำนักพิมพ์
ชาดก เป็นชุดนิทานโบราณเนื้อหาว่าด้วยอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
มุ่งสอนคุณธรรมจริยธรรมผู้อ่าน โดยเฉพาะคาพานั้น เป็นหลักคิดที่คมคาย
เชิญชวนให้ัผู้อ่านรู้จักสิ่งประเสริฐ เร่งเร้าให้แกร่งกล้าในคุณธรรม
เป็นคู่มือของผู้ต้องการสิ่งดีงาม เป็นทางเดินของคนดี นอกจากจะปรากฏ
ในพระไตรปิฎกแล้ว นิทานชาดกหลายเรื่องไปปรากฏในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก
จึงถือได้ว่า นิทานชุดนี้ เป็นมรดกของมนุษยชาติโดยแท้ ไม่ต่างจากนิทาน
โบราณอื่นๆ เช่น อีสปหิโตปเทศ หรืออาหรับราตรี ที่เป็นสิ่งจรรโงใจ
ผู้คนมาทุกยุคทุกสมัยสมัยโบราณ นิทานเหล่านี้ ได้รับการถ่ายทอดและรักษาด้วยการจำแล้ว
เล่าต่อๆ กันแบบ มุขปาฐะ (เรื่องที่เล่าต่อกันมา) ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์
อักษร ถ่ายทอดจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง จากชุมชนหนึ่งสู่อีกชุมชนหนึ่ง ชื่อ
ชาดกเหล่านี้จึงแตกต่างกันไปบ้าง บางเรื่องอาจแต่งเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อให้
เข้ากับรสนิยมของผู้ฟังในทอ้งถิ่นนั้นๆ แต่แก่นหลักยังสอนธรรมะแก่ผู้อ่านชาดกในธรรมบทนี้ พระเดชพระคุรพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี ป.ธ. ๙)
ได้แปล - เรียบเรียงใหม่โดยการสอบทานกับพระไตรปิฎกอย่างรัดกุม
ดังปรากฏใน ที่มาและมูลเหตุ สำนวนการแปลที่หยิบใช้โวหารเฉพาะตัว
มีเสน่ห์เชิญชวนให้น่าติดตามดังปรากฏใน เนื้อเรื่อง และส่วนที่สำคัญที่สุด
ที่แสดงความคมคายของท่านผู้เรียบเรียงคือส่วนที่ว่าด้วย สาระจากชาดก
เพราะทุกประเด็นที่หยิบมาพรรณาแสดงสาระทางธรรมล้วนเป็นเรื่องที่เรา
ชาวพุทธประสบพบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน และล้วนสอดรับกับความจริง
อันประเสริฐที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนทุกประการ................................................................................................
สารบัญ
ธรรมบทภาคที่ ๑
ลฎุกิกชาดก (พลังความแค้น)
วัฏฏกชาดก (ตายเพราะแตกกัน)
ฉันททันตชาดก (รอดเพราะผ้าเหลือง)
จันทกินนรีชาดก (อานุภาพรักนิรันดร์)
มหาธัมมปาลชาดก (มั่นใจจึงไม่เชื่อ)
จุลลหังสชาดก (หงศ์เพื่อนแก้ว)
มหาหังสชาดก (หงส์ปราชญ์)
กักกฏชาดก (กรรมทันตา)
ลักขณชาดก (สุดยอดผู้นำ)
นทีจรกากชาดก (เอาอย่างกันไม่ได้)
กันทคลกชาดก (ตายเพราะไม่ประมาณตน)
วิโรจนชาดก (ผู้ไพโรจน์กำมะลอ)
ชวสกุณชาดก (ผู้มีจิตอาสา)
กุรุงคมิคชาดก (ศิลปะป้องกันตัว)
อุภโตภัฏฐชาดก (เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง)
สีลวนาคชาดก (นักสร้างบารมีชั้นยอด)
ขันติวาทิชาดก (นักปฏิบัติธรรมตัวอย่าง)
จุลลธัมมปาลชาดก (ผู้โหดเหี้ยมตัวจริง)
ปิงคลชาดก (ผู้ที่นรกยังกลัว)
ธรรมบท ภาคที่ ๒
จูฬกเสฏฐิชาดก (เศรษฐีหนูตาย)
สุวชาดก (ผู้ไม่ทิ้งเพื่อน)
กุททาลชาดก (บัณฑิตจอบกุด)
ธรรมบทภาคที่ ๓
เกสวชาดก (ยากำจัดโรคเหงา)
กัฏฐหาริยชาดก (เลือดพ่อเข้มข้นกว่า)
อิลสีสชาดก (เศรษฐีขี้เหนียว)
ขทิรังคารชาดก (นักบุญต้นแบบ)
โลหกุมภีชาดก (นรกกระทะทองแดง)
มตกภัตตชาดก (รับบาปแพะ)
กุฏิทูสกชาดก (พระเสียงกระบวย)
สาลิตตกชาดก (คุณค่าของศิลปะ)
อุปสาฬหชาดก (ที่มิใช่ป่าช้า)
ธรรมบทภาคที่ ๔
อลีนจิตตชาดก (ช้างเพื่อนแก้ว)
พัพพุชาดก (แมวกับหนู)
วาโลทกชาดก (ด้วยแผกผิวพรรณชาติเชื้อ)
สารบัญ
ธรรมบท ภาคที่ ๕
เทวธัมมชาดก (เทวธรรมสำคัญฉะนี้)
กุมภชาดก (หม้อมหัศจรรย์-ตำนานสุรา)
ธรรมบทภาคที่ ๖
ทัพพปุปผชาดก (ผู้พิพากษากำมะลอ)
อกาลรวกุกกุฏชาดก (ไก่นอกสำนัก)
นิโครธชาดก (สุดยอดผู้นำ)
เวสันดรชาดก (ผู้ยอดยิ่งด้วยทานบารมี)
มหาปทุมชาดก (มารยาหญิง)
กัณหอสุภชาดก (โคกตัญญู)นันทวิสาลชาดก (อำนาจวาจา)
ปโรสหัสสชาดก (คนรู้จริง)
มันธาตุราชชาดก (ทาสตัณหา)
อุรคชาดก (ผู้เข้าถึงธรรม)
กุณฑกสินธวโปตกชาดก (เขาดีก็ต้องเลี้ยงให้ดี)ธรรมบทภาคที่ ๗
สูกรชาดก (หมูป่าท้ารบกับราชสีห์)
กฏาหกชาดก (นักติอวดโต)
วรุณชาดก (บทเรียนจากต้นกุ่ม)
กากชาดก (กาวิดน้ำทะเล)
มาตุโปสกนาคชาดก (ช้างกตัญญู)ธรรมบทภาคที่ ๘
จูฬธนุคคหชาดก (กำเนินนางโมรา)
ปัญจภีรุกชาดก (เกราะกันภัย)
กุรุธัมมชาดก (ธรรมะสารพัดนึก)
พหุภาณิชาดก (เต่าเหาะ)
มหิลามุขชาดก (ใกล้ทางไหนไปทางนั้น)
โคธชาดก (ฤาษีกินเหี้ย)
วาตมิคชาดก (สมันหลงรส)...............................................................................................................
สินค้าที่ดูล่าสุด
- คู่มือศึกษาพุทธศาสน์จากพร... ราคา 399.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
คำพ่อคำแม่ มอบแด่ลูกอันเป็นที่รักยิ่ง…
รหัส : 978-974-7251012 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 04/04/2011 ผู้เข้าชม : 4,779คู่มือศึกษาพุทธศาสน์จากพระคัมภีร์
รหัส : 978-616-91007-0-6 ราคา : 399.00 ฿ อัพเดท : 16/02/2012 ผู้เข้าชม : 3,020 -
พจนานุกรมเพื่อการเรียนรู้คำไทยทั่วไป
รหัส : 978-974-844-8367 ราคา : 399.00 ฿ อัพเดท : 16/02/2012 ผู้เข้าชม : 3,167กิร..ดังได้สดับมา-๑๐๘เรื่องเล่าแฝงคติความคิดเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
รหัส : 978-611-0300-407 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 28/04/2012 ผู้เข้าชม : 3,905 -
คำพ่อคำแม่-มอบแด่ลูกอันเป็นที่รักยิ่ง-พระธรรมกิตติวงศ์-ราคา100บาท
รหัส : 978-616-03-0542-1 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 31/10/2012 ผู้เข้าชม : 6,123พระในบ้าน-พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดีสุรเตโช-ราคา38บาท
รหัส : 978-611-704-702-2 ราคา : 38.00 ฿ อัพเดท : 03/11/2012 ผู้เข้าชม : 2,546 -
ยอดปรารถนาของพ่อแม่-พระธรรมกิตติวงศ์-ทองดีสุรเตโช-ราคา28บาท
รหัส : 978-616-268-057-1 ราคา : 28.00 ฿ อัพเดท : 03/11/2012 ผู้เข้าชม : 1,971สะกิจใจในธรรม-พระธรรมกิตติวงศ์-ราคา28บาท
รหัส : 978-616-268-083-0 ราคา : 28.00 ฿ อัพเดท : 29/09/2013 ผู้เข้าชม : 1,609