สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,422,101 |
เปิดเพจ | 17,076,855 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม2--ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
31.กแถบน้ำเงิน
-
เข้าชม
2,279 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม2--ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 512 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
สารบัญ
ธรรมปาฏิโมกข์ เล่ม ๒
ลำดับเรื่อง หน้า
๑.วิธีการฝึกจิต .... .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๑
๒.เข้าใจพุทธศาสนาให้ถูกตรง จะไม่ขัดกับศาสนาใด .... .... .... .... .... ๓๐
๓.วิปัสสนากรรมกร .... .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๕๓
๔.ธรรมะเข้ามาตัวกูออกไป ตัวกูเข้ามาธรรมะออกไป .... .... .... .... .... ๗๕
๕.ธรรมชาติว่างจากตัวกูออกไป ตัวกูเข้ามาธรรมะออกไป .... .... .... .... ๙๙
๖.ตัวกู - ของกูเกิด ก็มีวัฏฏสงสาร, ตัวกูดับก็มีนิพพาน .... .... .... .... ๑๒๘
๗.สังสาระมีอยู่ในนิพพาน นิพพานก็มีอยู่ในสังสาระ .... .... .... .... .... ๑๕๑
๘.ปริยัติ ปฏิบัติ, สำคัญที่ดับ ตัวกู_ของกู .... .... .... .... .... .... .... ๑๗๙
๙.สร้างนรกในอากาศ .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๒๐๑
๑๐.เรื่องการให้ทาน .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๒๒๑
๑๑."ธรรม" เพียงคำเดียว .... .... .... .... .... .... .... .... ๒๔๗
๑๒.ยิ่งฉลาดยิ่งโง่ .... .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๒๗๒
๑๓.ปัญหาตั้งต้นเมื่อมีความเจริญ .... .... .... .... .... .... .... .... ๒๙๘
๑๔.ความเป็นธรรมของตัวกู .... .... .... .... .... .... .... .... ๓๑๖
๑๕.จุดตั้งต้นของความทุกข์อยู่ที่ตัวกู - ของกู .... .... .... .... .... .... ๓๔๒
๑๖.ตัวกู - ของกู เป็นเรื่องปรมัตถ์ .... .... .... .... .... .... .... ๓๖๘
๑๗.ไม่มีใครผิดใครถูก มีแต่อะไรผิดอะไรถูก .... .... .... .... .... .... ๓๘๖
๑๘.ความกลัว .... .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๔๐๘
๑๙.หลักพื้นฐานของตัวกู - ของกู .... .... .... .... .... .... .... .... ๔๒๙
๒๐.ปัญญาความรู้ของตัวกู ย่อมหลอนตัวกู .... .... .... .... .... .... .... ๔๕๑
๒๑.สันทิฏฐิโกเกี่ยวกับตัวกู .... .... .... .... .... .... .... .... .... ๔๖๙
๒๒.ทุกเรื่องเนื่องด้วยตัวกู - ของกู .... .... .... .... .... .... .... ๔๘๙
...........................................................................................................................................................๑วิธีการฝึกจิต.เรื่องเผลอ ถ้าไม่รู้จักละอายรู้จักกลัว, ถ้าไม่รู้จักละอายไม่รู้จักกลัวก็เผลอเรื่อยไป, นี้อธิบายตั้งหลายหน จนไม่ค่อยนึกถึงแล้ว เคยเทศน์หรือปาฐกถาหลายคราว. เรื่องเดินตกร่อง ทำไมจึงจะเดินไม่ตกร่อง? เพราะมันกลัว, ทำไมไม่ทำผ้านุ่งหลุดกลางถนนเลย? ก็เพราะมันละอาย ก็มีเท่านี้.เดี๋ยวนี้เราไม่ละอายเผลอสติ ก็ไม่ละอาย, รู้อยู่ว่าเผลอสติ เพราะไม่ละอาย, ไม่เคยละอาย, กลายเป็นคนไม่ละอายไป, แล้วอย่างนี้มันไม่ได้เจ็บปวดจนโลหิตไหล เหมือนเรื่องบาดเจ็บแผล ก็เลยไม่กลัว.นี่ให้ทุกคนนึกดู ความจริงข้อนี้ คือที่เราไม่รู้จักละอาย แล้วก็ไม่รู้จักกลัว, มีกิเลสขนาดยกหูชูหางเร่อร่าไปหมด ก็ไม่รู้จักละอาย เรื่องกลัวมันยิ่งไม่รู้จักใหญ่เพราะมันไม่ได้เจ็บปวดอะไร. บางทีมันก็สนุกสนานดีเสียด้วยซ้ำไป ในการที่จะยกหูชูหางต่อหน้าบ้าง, ลับหลังบ้าง แล้วมันก็มีเท่านั้น.๒แล้วมันเนื่องกันไปกับข้างต้นอีกหน่อยหนึ่ง คือว่า เราต้องพิจารณา มองอยู่เสมอ ว่ามันเป็นอันตราย มันน่ากลัวหรือเป็นอันตราย หรือว่าเลยไปอีกก็คือ เราต้องศึกษาให้รู้ว่า เราจะทำสติอย่างไรจะปฏิบัติอย่างไร เมื่ออารมณ์มากระทบ จะต้องหยุดชะงักไว้ก่อน; ก่อนที่จะคิดนึกตัดสินลงไปว่า จะทำอย่างไร เพื่อจะมีสติทัน เรื่องนับสิบก่อนนี่เคยพูดหลายหน. หัดให้เป็นนิสัยว่า จะไม่ทำอะไรพรวดพราดออกไป, ไม่ทำอะไรพรวดพราดออกไป โดยไม่ทำความรู้สึกสติเสียก่อน. นับถึงสิบเสียก่อนจึงค่อยตัดสินใจ ค่อยคิด ค่อยนึก ค่อยโกรธ หรือค่อยจะด่าใครก็ตาม ให้นึกถึงสิบ นับถึงสิบเสียก่อน.การฝึกเพื่อมีสติ.เราก็หัดได้ โดยวิธีของกัมมัฏฐานนั่นเอง; ที่จริงเรื่องกำหนดลมหายใจ หรือยกย่างเท้า หรือว่ายุบหนอพองหนออะไร ถ้าทำถูกวิธีช่วยในเรื่องนี้ได้มาก, กลัวว่าจะไม่ทำกันในแบบนี้กำหนดลมหายใจออก มันต้องรู้สติมีสติเสียก่อนเราจะหายใจออก, มีสติเสียก่อนหายใจเข้า มีสติอยู่หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า บาลีอานาปานสติ. ถ้าหายใจไปตามสบาย กำหนดไปตามสบาย, มันจะต้องรู้ว่า เราจะหายใจออก เราจะหายใจเข้า. นี่มันเป็นบทเรียน ที่ว่าการจะทำอะไร จะเคลื่อนไหวอะไรไปต้องรู้ตัวก่อนว่า จะทำอะไร; เช่นเราจะออกประตู เราต้องรู้ตัวก่อนว่าเราจะออกประตู. เมื่อเราจะไป ก็ต้องรู้ก่อนว่าเราจะไป. เราจะใส่กุญแจประตู ก็รู้ว่าจะใส่กุญแจประตู, ต้องรู้ก่อนทำเสมอ, แล้วมันจะมีนิสัยนึกได้ก่อนทำเสมอ แล้วมันก็จะไม่ลืมใส่กุญแจประตูเพราะมันหัดเสียจนเคยชินเป็นนิสัยว่า จะต้องรู้สึกตัวก่อนทำเสมอ. นี้เขาหัดกระทั่งทุกครั้งที่หายใจเข้าออก, ทุกครั้งที่ย่างเท้าเดิน, นี้มันก็จะเป็นนิสัยอย่างยิ่ง ที่จะรู้สึกในสิ่งที่จะทำลงไป.๓แล้วหัดได้ไปเสียทุกอย่าง นี่ก็หัดจากเรื่องในชีวิตประจำวัน; เช่น ฉันอาหารอย่างนี้ มันก็มีหลายระยะ นับตั้งแต่หยิบขึ้นมา จะใส่เข้าปาก จะเคี้ยวให้แหลกจะกลืนลงไปนี้, ถ้ามีสติหัดนึกนำหน้าก่อนเสมอ จะไม่มีทางพลาด, หรือเราจะอ่านหนังสือ ก็ให้ตาไปก่อนปากที่อ่านเสมอ. ตาดูหนังสือนำหน้าไปก่อนปากว่า ตัวหลังๆ ที่ถัดไปหลายๆ ตัว ก็มีผลอย่างเดียวกัน.ทีนี้เห็นเป็นของเล็กน้อยไปเสีย ไม่ค่อยจะฝึกกันให้เต็มที่ : ลืมใส่กุญแจประตู ก็เห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ละอาย, เอากุญแจเก็บอยู่ข้างใน งับประตูงับกุญแจข้างนอกปิดแล้วกุญแจอยู่ข้างใน อย่างนี้ก็ไม่รู้สึกละอาย. คนหน้าด้านเหล่านี้ไม่เห็นว่า นี้เป็นเรื่องสำคัญ, ไม่รู้สึกว่านี้เป็นการเสียหายอย่างยิ่งของสมณะผู้ฝึกฝนสติ; เพระเขาถือว่าลูกกุญแจไม่กี่สตางค์, ลูกกุญแจของกู กูจะตัดจะทำใครจะทำไมกู.นี่ไปคิดเสียอย่างนี้ คนหน้าด้าน ถ้ามีความละอาย มันต้องละอาย จนถึงกับว่า ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปไว้ไหน ในการที่สมณะลืมกุญแจไว้ข้างใน, งับประตูข้างนอก ทั้งที่ตัวกุญแจนั้นไม่กี่สตางค์.นี่มันไม่มีในตำรา ไม่มีในบัญชีกัมมัฏฐาน; แต่นี่มันคือตัวสติ, ต้องมีสติก่อนทำอะไรเสมอแล้วก็ทำไม่พลาด. แล้วการทำแก้วแตกใบหนึ่ง ก็ไม่ใช่ว่าแก้วแตกใบหนึ่งไม่ก็สตางค์; มันเป็นความฉิบหายของ การเป็นสมณะ ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ มีราคามากมาย แล้วก็ไม่ละอายและไม่กลัว. มันทุกเรื่องไปที่ ขาดสติแล้ว มันก็ต้องละอายและกลัว, แม้แต่เรื่องเดินสะดุดนี้ มันก็ต้องละอายและกลัวเพราะมันขาดสติ สัมปชัญญะ. นี่เรื่องข้างนอก ที่ถือกันว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่มีใครละอาย ไม่มีใครกลัว.๔การฝึกให้มีหิริโอตตัปปะ.ทีนี้เรื่องทางจิตใจ ที่ปล่อยให้จิตใจมันเลวไป ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งแล้วก็ไม่ละอายไม่กลัว,นั้นมันก็ยิ่งร้ายไปใหญ่; มีความโกรธบ้าง มีความอิจฉาริษยาบ้าง มีทิฏฐิมานะบ้าง คิดไปในทางต่อต้านด้วยพยาบาทบ้าง อะไรบ้าง, นี้มันยิ่งใหญ่โตไปมาก ยิ่งเป็นเรื่องเสียหายมาก ก็ไม่รู้สึกทันท่วงที. รู้สึกแล้ว กลับนึกสนุกสนานเอร็ดอร่อยดี ในทางความรู้สึกของผู้นั้น. ความที่ได้เย่อหยิ่งจองหองยกหูชูหางนี้มัน เอร็ดอร่อยดี สำหนับคนชนิดนั้น ชนิดที่ว่าเฉพาะคนชนิดนั้น, แล้วมันชินตั้งปีๆ กี่ปี สิบปี มันก็ไม่ละกิเลสอัน เป็นเครื่องยกหูชูหางนั้นได้เพราะไม่มีความละอายเพราะไม่มีความกลัว. นี้มันยิ่งกว่าแก้ผ้ากลางถนน, น่าละอายยิ่งกว่าแก้ผ้ากลางถนน. สำหรับพระ, การให้กิเลสชนิดหยาบๆ อย่างนี้เกิดขึ้นมา แล้วมันน่า กลัวยิ่งกว่าการตกร่องหน้าแข้งถลอก. ตกร่องหน้าแข้งถลอก นี้ไม่เท่าไรดอก แต่ว่าการปล่อยให้กิเลสขึ้น ถึงขนาดยกหูชูหางอย่างนี้ มันเสียหมด, มันยิ่งกว่าหน้าแข้งถลอก, แล้วมันน่าละอายอย่างที่สุด ไม่มีอะไร ที่จะน่าละอายเท่า.ฉะนั้นไปคิดกันเสียใหม่ ให้รู้สึกว่ามันน่ากลัว ขนาดนี้ มันน่าละอายขนาดนี้ มันคงจะค่อยยังชั่วบ้าง, มันสำเร็จอยู่ที่ความละอายและความกลัวเป็นพื้นฐาน คือหิริโอตตัปปะนั้น, ถ้าไม่มีแล้ว มันก็ไม่มีความเป็นผู้มีศีล มีสติอะไรได้เลย.ทีนี้ไปถึงกันเสียว่า ธรรมะ ๒ ข้อนี้ มันเป็น ก ข ก กา สำหรับคนแรกเรียนแรกบวช อยู่หน้าต้นของนวโกวาท, ไม่สนใจ, แล้วในนวโกวาทก็ไม่ได้เขียนไว้ถึงขนาดนี้ด้วย พอดีกัน; เพียงแต่ว่าความละอายความกลัว ไม่รู้ว่าจะใช้กัน๕อย่างไร. ในนวโกวาทเขาพาดหัวว่าอย่างไรธรรมะหมวดนี้? ธรรมะอะไร? ตอบไม่ได้; เพราะไม่สนใจ แล้วมองข้ามไปหมด มันเป็นของ ก ข ก กา หญ้าปากคอก.ที่ไกลออกไป เขาว่าเป็นเทวธรรม ธรรมะที่ทำให้เป็นเทวดา. ความละอายและความกลัวนี้เรียกว่า เทวธรรม : หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา, สนฺโต สนปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติวุจฺจจเร-ผู้ที่มีพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะนี้ คือผู้มีเทวธรรม.นี้ไปฝึกกันในข้อนี้ มันจะช่วยได้, รู้จักละอาย รู้จักกลัว โดยไม่ต้องมีใครเห็น. นี้เป็นเรื่องของธรรมะ ต้องละอายแก่ตัวเอง, ต้องกลัวอยู่กับตนเองโดยไม่ต้องใครรู้ใครเห็น, แล้วไปใช้แก่ธรรมะ ทุกเรื่องทุกข้อไปเลย ตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์. พอเผลอสติ ขาดสติ ทำไปด้วยขาดสติเมื่อไรก็ต้องละอาย จนไม่รู้ว่าเอาหน้าไปไว้ที่ไหน, ต้องกลัวจนสะดุ้งพองขน แล้วมันก็ง่ายๆตามธรรมดา ตามกฎธรรมชาติ เหมือนที่เราระวัง เราเดินไม่ตกร่อง. เราไม่ไปทำอะไรน่าละอายกลางถนนหนทางอย่างนี้ เพราะกลัว เพราะละอาย มันก็มีศีล มีสมาธิ มีสติ ได้โดยง่าย.เป็นเรื่องเดียวกับคำว่า ความประมาท; ความประมาทก็คือไม่ละอายและไม่กลัว, ความไม่ประมาท มันก็มีสติอยู่เสมอ เพราะมันละอายและกลัว มีสติอยู่เสมอ. ข้อนี้มันไม่ใช่ว่า กลัวจนทำอะไรไม่ถูก, หรือละอายจนไม่กล้าทำอะไร, เพราะว่าเรื่องนี้เรารู้ดีอยู่แล้ว ว่าต้องทำอย่างไรก่อนทำ และทำอย่างไรมันรู้ดีอยู่แล้วมันก็ต้องกลัวการที่จะทำพลาด หรือไม่ทำอะไรที่ควรจะทำ.นี้เป็นธรรมะประเภทที่ต้องคิดบัญชีอยู่ทุกวัน, ค่ำลง สิ้นวันลงนี้ ก็ต้องคิดบัญชีว่า วันนี้มันไม่กลัวหรือไม่ละอายกี่ครั้งกี่หน, มีจิตใจน้อมไปในทางที่ไม่๖ควรจะน้อมไป ก็เรียกว่า เสียหายแล้ว. ไม่ละอายและไม่กลัวแล้ว. เมื่อต้องถึงกระทำลงไปปรากฏออกมา แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือว่ากระทำลงไปแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง อย่างนั้นมันมากไป. เพียงแต่คิดในทางอกุศล ก็พอแล้ว ก็ต้องละอายอย่างยิ่ง ต้วกลัวอย่างยิ่งแลัว; เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่ออกมาข้างนอก, ฉะนั้นการที่จะกระทบกระทั่งกันเบียดเบียนกัน ค้อนควักกันมันก็ไม่มี.เรื่องหิริโอตตัปปะ พาดหัวว่าอะไรในนวโกวาท? ธรรมเป็นโลกบาลใช่ไหม? หรือโลกะปาละคุ้มครองจริงๆ โลกนี้คือคน คือสัตว์ คือใจ คือวัวตัวนั้น. วัวตัวที่กำลังเขียนอยู่นั้น มันจะคุ้มครอง ทีนี้มันก็อยากเป็นวัว.เปรียบฝีกจิตดุจภาพจับวัว*.ผมคิดว่าจะพูดเรื่องวัวในวันนี้ เพราะว่ากำลังเขียนวัวอยู่ แล้วก็ให้ดูกันหลายหนแล้วเรื่องวัว :ภาพวัว จับวัว อธิบายกันผิดๆ ถูกๆ. วัวนั้นมันคืออะไร? แล้วใครเป็นคนจับวัว? ถ้าคุณตอบไม่ได้ ก็ทำให้มีสติสัมปชัญญะไม่ได้. แล้วใครจะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะ? แล้วใครจะเป็นคนทำให้มีสติสัมปชัญญะ?ใครจะเป็นคนมี? แล้วใครจะเป็นคนทำให้มันมี? หรือว่าอะไรเป็นวัว? แล้วใครจะฝึกวัว? เที่ยวตามหาวัว? พอนึกได้ว่าอย่างไร ลองเล่ามาซิ. (มีคำสนทนา) มันจะฝึกกันได้อย่างไร? ต้องอธิบายข้อนี้ได้ด้วย, แล้วมันจะฝึกกันได้อย่างไรไปคิดให้แตก ให้มันกระจ่าง ให้มันชัดเจน แล้วไปดูเรื่องวัว.อุปมานี้มันมีว่า คนไปตามวัว, มันมีวัวที่หายไป แล้วไปตามวัว จับได้เอามาทรมานฝึก แล้วใช้ประโยชน์. คนฝึกมีความสุขอยู่บนหลังวัว แล้ววัวก็หายไป.••••••••••••••••••••••••••••* มีภาพในตึกมหรสพทางวิญญาณ๗เดี๋ยวคนจะหายไป โผล่มาใหม่เป็นธรรมชาติเดิมแท้ตามปกติ ไม่มีวัวไม่มีคนคู่นั้นอีกแล้ว, เหลือแต่คนที่สะพายลูกน้ำเต้า ไปเที่ยวแจกความว่าง, ลูกน้ำเต้านั้นก็ความว่างหรือแสงสว่าง. เริ่มขึ้นมาจากว่า วัวหาย ตามวัว จับวัว, ตีกันใหญ่ แล้วก็จูงจมูกมาขี่ ได้มาถึงบ้าน, วัวหาย พักเดียวคนหายเหลือแต่ว่าง แล้วผลิออกมาใหม่ คือว่า ปรากฏออกมาใหม่ ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติเดิมของสังสารวัฏฏ์ที่ไม่มีความหมาย คือความเปลี่ยนแปลงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีความหมายอะไร. แล้วคนั้นออกมาใหม่ ไม่ใช่เป็นเด็กแล้ว, ทีนี้ไม่ใช่เด็กขี่วัวแล้ว เป็นตาแก่ท้องโย้สะพายลูกน้ำเต้า ส่องตะเกียง,บางทีเขียนเป็นส่องตะเกียง, บางทีเขียนเป็นลูกน้ำเต้า รูปที่กำลังจะเขียนนี้มีคนหาปลามีคนตกเบ็ดได้ปลา คือทำให้พวกนายพรานเบ็ด คนฆ่าเนื้อ คนเหล่านี้กลายเป็นคนที่ได้รับแสงสว่าง มีความว่างตามไปด้วย.ทีนี้คุณอยู่ในระยะไหนล่ะ เที่ยวหาวัว, กำลังเที่ยวหาวัว หรือว่าเห็นรอยวัวหรือว่าเห็นก้นวัวหรือว่าจับวัว หรือว่าฝึกวัว?มันเป็นเรื่องจิตบ้าไปเอง; ที่แท้ไม่มีคนไม่มีวัวอะไรที่ไหน คือมีความเข้าใจผิดความเข้าใจถูก,นั่นแหละดูให้ดี. ความเข้าใจผิดความเข้าใจถูกนี้มันก็อันเดียวกัน เมื่อมันยังไม่เข้าใจผิด.เรื่องนี้มันดีมาก และดีเกินไป; เรื่องจับวัวนี้ มีคนเข้าใจน้อยมาก, แล้วอธิบายได้หลายๆระดับ ระดับต่ำๆ ก็ได้, ระดับสูงๆ ก็ได้. พอโผล่ขึ้นมา เขาอธิบายว่า มันไม่ได้หายไปไหน, แต่มันไม่เห็น จึงรู้สึกเหมือนกับหาย. วัวนี้เขาหมายถึงจิตธรรมชาติเดิม คือโพธิจิต เขาเรียกว่าโพธิจิต, วัวหมายถึงโพธิจิต มิใช่หมายถึงกิเลส จิตดวงนี้ดวงเดียวนี้, จิตเดียวนี้เขาเรียกว่าโพธิจิต แต่ยังไม่ตรัสรู้, คือจิตที่จะตรัสรู้ เรียกว่าโพธิจิต นั่นแหละคือวัว ต้องไปจับเอาจิตดิบนี้. จิตโพธิจิตที่ยังดิบมาบ่ม,๘เอามาบ่ม-บ่ม-บ่ม ให้มันสุก มันจึงจะเป็นโพธิจิตที่สว่างหรือบานออกไป เบิกบานออกไป.ทีนี้เอาจิตไหนมาฝึกจิตนี้ล่ะ? มันเป็นปัญหาอย่างนี้ เขาจึงว่า ไม่ได้มีวัวที่หายไปไหน, แต่จิตนี้มันไปบ้า ยกหูชูหางเป็นวัวเสียเอง. จิตนี้มันเป็นบ้ามันยกหูชูหาง มีทิฏฐิมานะ เป็นกูเป็นของกูเสียเอง; เพราะว่าจิตดวงหนึ่งนี้ มันจะเป็นอะไรก็ได้ ธรรมชาติเดิมแท้ของมันจึงไม่ปรากฏ, เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันปรากฏแต่เรื่องของกิเลส. เรื่องที่ทำให้เกิดกิเลส เป็นตัวกู-ของกู เป็นความโลภ ความโกรธความหลงนี้ มันเข้ามาปะทะอยู่เรื่อย มันจึงไม่เห็นธรรมชาติเดิมแท้; เมื่อไม่เห็นก็คิดว่า หายไปแล้ว, หายไปแล้ว ไม่มีแล้ว ต้องเที่ยวตามแล้ว.นี่ฟังดูให้ดี เขาว่าวัวไม่ได้หายไปไหน; แต่เนื่องจากจิตโง่ไปติดอยู่กับกิเลสจึงไม่เห็นวัว คือไม่เห็นสภาพที่มันจะบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือไม่เกาะเกี่ยวอยู่โดยปกติ ไม่มีกิเลสอยู่โดยปกติ มันไม่มองเห็น,คือมันไม่ปรากฏอย่างนี้ได้. เพราะว่ามันไปอยู่ฝ่ายกิเลสเสียเรื่อยไป จึงรู้สึกว่ายังขาดอยู่, เรื่องดีเรื่องที่ควรจะได้ยังขาดอยู่ฉะนั้นต้องเที่ยวตาม, เที่ยวตามหา เหมือนกับเที่ยวหาวัว จนพบรอยวัว, คือว่าจิตมันไปหลงผิดในอะไรเสีย ไม่มีความสงบ มันจึงไม่รู้สึกว่ามีความสงบ. ฉะนั้นมันจึงรู้สึกว่า จะต้องค้นหาความสงบ เรื่องจึงยืดยาวมากออกไป, เหมือนที่ฮวงโปพูดว่ามันอยู่แล้วที่หน้าผาก แต่ไม่มีใครเห็นอย่างนี้ คลำก็ไม่ได้คลำ เพราะมันไม่มองเห็นจึงไม่ได้คลำ. เรื่องไม่มี เรื่องไม่มาก มันเลยเป็นเรื่องมาก เป็นมีมาก มีมาก, มีมากปฏิบัติกันจนตายก็ไม่หมด.นี้มันเป็นวิธีลัดอยู่มาก, แล้วเขาเยาะเย้ยอยู่ในตัว คนโง่ๆ ยกหู ชูหางเป็นวัวเสียเอง มันก็ไม่เห็นวัวว่าอยู่ที่ไหน, เพราะมันเป็นวัวเสียเอง กิเลสที่เป็นเหตุ๙ให้ยกหู ชูหาง นั้นแหละ มันทำให้ตัวเองเป็นวัวเสียเอง โดยไม่รู้ว่าวัวอยู่ที่ไหน, ไม่รู้จะไปคิดอะไรที่ไหน, ไม่รู้จะไปจับอะไรที่ไหนมาฝึก. เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนี้ เพราะมันเป็นวัวเสียเอง มันก็หาวัวไม่พบ,วัวไปเที่ยวหาวัว มันก็เลยไม่พบ, วันหนึ่งคืนหนึ่งจึงมีแต่การยกหูชูหาง มันเป็นวัวเสียเองจึงหาวัวไม่พบ, ไม่รู้ว่าจะเอาจิตไหนมาฝึก ให้เป็นจิตที่ดีขึ้นมา. แต่โดยเนื้อแท้ วัวเขาหมายถึงจิตที่จะตรัสรู้ข้างหน้า มันจะปรากฏอยู่แล้ว มันมีอยู่แล้วแต่ไปทำให้มันเลอะ จนเป็นอะไรเสียเอง, ไม่เห็น, เป็นสิ่งที่มีดีอยู่แล้ว, ไปหลงในกิเลสเสียเรื่อยไป สภาพเดิมแท้นั้นมันไม่ปรากฏ.มีหิริโอตตัปปะแล้วจึงจะเห็นร่องรอย.เมื่อได้รับการสั่งสอน ศึกษาอบรมถูกต้อง แล้วก็ตัวเป็นคนมีหิริโอตตัปปะมีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อธรรมะ ต่อตัวเอง มันจึงจะเริ่มเห็นรอยวัว. เขาเขียนภาพที่ ๒ เริ่มเห็นรอยวัว คือมันเริ่มรู้สึกว่า จิตนี้จิตดวงนี้แหละมันฝึกได้, จะฝึกได้. ถ้าเริ่มเห็นรอยวัว เห็นก้นวัว มันก็เริ่มละจากกิเลสที่บ้าๆบอๆ ที่เป็นวัวเสียเอง, ละมา จากนั้น มันเริ่มเห็นจิตที่ว่ามันจะต้องฝึก จึงเห็นร่องรอย.ถ้าตามหลักของพวกนั้นเขาถือว่า โพธิจิตนี้ไม่ใช่ว่ามันรู้ หรือว่ามันเรียบร้อย มันราบคาบ,สงบมาแล้ว, มันก็มีพยศเหมือนกัน; เพราะมันไม่ได้รับการฝึกที่ถูกต้อง. มันเป็นจิตเดียวนี้แหละ ไม่ใช่จิตไหนดอก จิตที่บ้าที่สุดมันก็จิตนั้น, จิตที่ไม่บ้าที่มันจะรู้ขึ้นมาทีหลังก็จิตนั้น, มันแล้วแต่ว่าอะไรเข้าไปผสมมันเข้าผสมลงไป คือเจตสิก เราเรียกภาษาอภิธรรมว่า เจตสิกพวกไหนมันจะเข้าไปผสมลงไปก็คือการกระทำของกลุ่มนั้น. ทำไปในทางที่ให้เจตสิกพวกไหนเกิดขึ้นมาผสม. ฉะนั้นมันจึงเป็นวัวในหลายลักษณะ, เปรียบเหมือนกับวัวที่เป็นพาล ไม่ยอม. โพธิจิตนั่น๑๐มันยังไม่ยอม; เหมือนเราไปจับวัวเถื่อนมาตัวหนึ่ง มันก็วัวตัวนั้นแหละ ถ้ามันมีอุปนิสัยที่มันจะเป็นวัวที่ดีได้. วัวตัวนั้นแหละ แต่แล้วเมื่อจับมาใหม่ๆ มันยอมที่ไหนล่ะ, มันจะขวิดคนจับเสียให้ตาย หรือว่ามันจะทำทุกอย่างที่มันจะทำได้ คือวัวตัวนั้น. เมื่อได้รับการฝึกดี มันกลายเป็นวัวที่เชื่องและใช้ประโยชน์ได้มันก็วัวตัวนั้น, นี่ลักษณะอาการของสิ่งที่เรียกว่าโพธิจิต, จิตที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อไม่มีการฝึกที่ถูกต้อง มันก็เป็นเหมือนกับวัวเถื่อน ฉะนั้นมันจึงต้องฝึก.ที่เขาพูดว่าไม่มีวัว ไม่มีวัว หายไปไหน เขาหมายถึงสภาพเดิมของมันก่อนแต่ที่จะถูกกิเลสครอบงำปรุงแต่ง. ตัวหนังสือจีนที่ว่า ทีแรกไม่มีอะไรนั้นตัวนั้นแหละสำคัญมาก คือมันก็ว่างอยู่ตามธรรมชาติ แล้วพอเกิดมา มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย ผิวหนัง อะไรที่มันจะรับอารมณ์ เจริญงอกงามขึ้น มันก็รับอารมณ์เข้าไปอารมณ์นี้ก็เข้าไปทำให้บ้าต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเหล่านี้, รักบ้างไม่รักบ้าง ยินดีบ้างยินร้ายบ้าง, ที่แท้มันก็เท่ากัน มันบ้าเท่ากัน : ยินดีก็ตามยินร้ายก็ตาม นี่มันจึงรู้อะไรขึ้นมา, ทั้งที่ทีแรกมันไม่มีอะไร ทีแรกมันไม่มีอะไร. ทีแรกมันก็ไม่มีวัว, แต่มันเกิดเป็นวัวขึ้นมาเพราะว่ามันมากระทบกันเข้ากับสิ่งแวดล้อม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เลยเป็นวัวแบบที่มันดื้อดึง, วัวที่มีพยศร้าย นี้พอมันมึนเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มากขึ้น ในทางที่จะรู้สึกว่าตัวกู-ของกู มันก็มากขึ้นๆๆ ในที่สุดมันก็ยกหูชูหาง เป็นวัวชนิดนี้ไป, ยกหูชูหาง ดิ้นเร่าๆ อยู่เหมือนกับวัวตัวดำทีแรก กว่ามันจะได้รับความเฉลียวฉลาดจากประสบการณ์ หรือว่าจากคำสั่งสอน หรือจากอะไรก็ตาม มันจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป.ศึกษาเรื่องโพธิกับกิเลสฝ่ายมหายาน.นี่ผู้จับวัวก็คือส่วนหนึ่งที่มันแวดล้อมจิต ให้เปลี่ยนไปในทางที่ตรงกันข้ามคือ เจตสิกธรรมพวกใฝ่กุศล หรือใฝ่อะไรนี้ ที่มันค่อยมีโอกาสเกิดขึ้น. ค่อยมีd04805๑๑โอกาสเกิดขึ้น เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดี. มีครูบาอาจารย์ เรียนหนังสือหนังหา มีความเข็ดหลาบ ความจำรู้จักเข็ดหลาบก็เกิดจิตแยกออกมาประเภทหนึ่ง, เหมือนกับเด็กที่จะฝึกวัว สิ่งที่มีอยู่แท้ๆ ก็คือจิต, จิตนั้นจิตเดิมนั้นซึ่งเป็นโพธิจิตที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ๆ แต่มันกำลังเปรียว เถื่อน เพราะว่ามันเข้าไปผสมกันเข้ากับพวกที่เข้ามาแวดล้อมไปในทางอกุศลเจตสิก คือฝ่ายกิเลส, ฝ่ายที่เราเรียกว่า กิเลส.ทีนี้คำว่า โพธิ เรามันเข้าใจกันอีกอย่างหนึ่ง รู้ไว้บ้าง; ฝ่ายเถรวาทเรานี้ แยกกิเลสออกจากโพธิ ตรงกันข้าม, ทางฝ่ายมหายานเขาพูดลงไปว่า กิเลสกับโพธินั้นคือสิ่งเดียวกัน. นี่ถ้าคุณฟังไม่ถูกคุณก็ดูที่ผมพูดเมื่อตะกี้ โพธิจิตวัวตัวนั้น โพธิจิต มันรู้ มันต้องรู้ มันต้องรู้ไปตามสิ่งแวดล้อม ตามเหตุปัจจัยที่แวดล้อม; ถ้ามันรู้อย่างนี้ก็เรียกว่ากิเลส, ถ้ามันรู้อย่างนี้ก็เรียกโพธิ ที่จริงเป็นความรู้เสมอกันสำหรับวัวไม่มีความหมายว่าเป็นกิเลสหรือเป็นโพธิ. แต่สำหรับคนมีความหมายเพราะมันรักฝ่ายโพธิ,มันเกลียดฝ่ายกิเลส. เพราะฝ่ายกิเลสมันทำให้เดือดร้อน มันขบกัดเอา, ฝ่ายโพธิมันทำให้ดีให้สบาย.แต้ถ้าสำหรับธรรมชาติแท้ๆ แล้ว มันมีความหมายเท่ากัน, กิเลสก็ตาม โพธิก็ตาม มันเกิดความที่ยังไม่ได้ยึดถือ ยังไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น. พอเกิดความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เลือกเอาฝ่ายดี, ฝ่ายโพธิฝ่ายบุญ ฝ่ายกุศล ฝ่ายนิพพาน, แล้วก็เกลียด หรือเกียดกันฝ่ายกิเลส ฝ่ายสังสารวัฏฏ์ออกไป เป็นคนละอย่างตรงกันข้าม. นี้เป็นทางที่ให้เกิดความรู้สึกมีวัว มีผู้ฝึกวัว เป็นความโง่หลงอีกชั้นหนึ่ง จึงมีวัวมีผู้ฝึกวัว ทำให้มีปัญหาในหน้าที่ มีอะไรมากขึ้นมาทันที. ถ้าอย่าไปถูกกันเข้ากับกิเลส, อย่าไปต้องการอะไร มันก็อันเดิม คือที่ว่างอยู่ตามเดิม, พูดอย่างนี้ พูดว่าไม่มีวัว วัวไม่ได้หายไปไหน ต่อเมื่อจิตอันนั้นมันไปหมกอยู่กับเจตสิกฝ่ายกิเลส จึงจะรู้สึกว่าไม่มีวัว วัวหายเสียแล้ว จะต้องไปตามตัวจับเอาฝึก; แต่ถ้าไม่หมกกับกิเลส ไม่๑๒ยึดมั่นอะไร จิตนั้นก็เป็นจิตที่ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาอะไร, เผลอไปอยู่ฝ่ายกิเลสนิดเดียวฝ่ายนั้นเกิดหายไป มีปัญหาที่ต้องตามมาฝึก เรื่องก็มาก. ที่เขาว่าเดิมมันว่างอยู่แล้วอยู่ตามธรรมชาติแล้ว ไม่ต้องทำอะไร นี่ฟังกันไม่ค่อยถูก, เปรียบประหนึ่งเหมือนกับเพชร มีอยู่ที่หน้าผากแล้ว ไม่ต้องไปหาที่ไหน.ถ้าถือแนวอย่างนี้ เรื่องสติสัมปชัญญะมันก็มีได้แรง, มีได้มาก หรือมีได้ง่ายตรงที่ระวัง, ระวังเรื่องอย่าไปหมกมุ่นกับฝ่ายที่เรียกว่ากิเลส; วัวมันก็มีอยู่ด้วยมันก็เจริญอยู่ด้วย ไม่ได้หายไป, ไม่ได้ต้องตามตัวมา ไม่ต้องฝึกให้ลำบากยากเย็น. แต่แล้วมันเป็นอย่างนั้นไม่ได้ เพราะว่าพอเกิดมันก็เริ่มมีความฝักใฝ่ไปในทางฝ่ายกิเลสเรื่อยๆ, เวียนไปเรื่อย. โพธิจิตมันก็ไม่แสดงอาการในทางโพธิจิตมากลายเป็นกิเลสเสีย; สิ่งที่ปรารถนาที่ต้องการคือโพธิจิต มันก็ไม่ปรากฏ ทำให้ต้องศึกษา ศึกษาค้นหาค้นคว้า ค้นหา อุตส่าห์ไต่ถาม ศึกษาเล่าเรียน จนพบจิตอย่างไรจึงจะเป็นที่พึ่งได้.นี่ไม่มีปัญหา ไม่มีเรื่องอะไร ก็มาทำให้มีเรื่องให้มีที่เป็นปัญหาขึ้นมาเสียเอง, หรือว่าทำไกลออกไปลิบลับเลย จนกว่าที่จะกลับมาได้โดยยาก. พอเกิดมาก็มีแต่กิเลสอันนี้ ตั้งแต่ ๓ ขวบ ๔ ขาบมาจนบัดนี้เรื่อยมาๆ มันไปไกลลิบ, ยกหูชูหางวิ่งโร่ไปไกลลิบเลย กว่าจะตามตัวพบเหมือนกันกับวัวตัวนั้น ข้ามโขดเขาไปไม่รู้กี่ลูกกี่โขดเขา. ที่เขาทำคำอธิบายของภาพวัวนี้ ไปไกล ข้ามภูเขาไปหลายๆภูเขา, หลายๆ เทือกเขา.นี่กว่าเราจะโตมีอายุเท่านี้ ๓๐-๔๐ ปีนี้ มันไปไกลลิบขนาดนี้; ฉะนั้นการที่จะฝึกมันก็ยากมากขึ้นเป็นธรรมดา, หมายความว่า การที่จิตจะฝักใฝ่ไปในทาง๑๓ของฝ่ายโพธิแท้มันก็ยาก, มันไปฝ่ายกิเลสเสียเรื่อย คือความรู้นั่นแหละ มันเอียงไปฝ่ายโน้นเรื่อย จะเรียกว่าฝ่ายขวาหรือฝ่ายซ้ายก็ตามใจ. ความรู้นั้นถ้ามันเอียงไปทางนี้ก็เป็นกิเลส, เอียงไปทางนี้ก็เป็นโพธิ, แล้วแต่อะไรมาแวดล้อมมัน.พูดอย่างนี้ จะต้องถือว่า ความมีประสบการณ์มาก ทำให้เกิดเห็นร่องรอยวัว, เกิดมีผู้ฝึกขึ้นมาคือว่าเราสามารถจับตัวโพธิจิตดึงมาฝ่ายนี้, อย่าปล่อยให้มันล่องลอยไปตามชอบใจของมัน ไปทางฝ่ายโน้น. โพธิจิตที่กำลังเปรียวเถื่อนเหมือนวัวเถื่อน, เราก็ดึงมาฝ่ายนี้ มันไม่มีโอกาสไปฝ่ายโน้น.ผลสุดท้ายก็คือ ความละอายความกลัว และประสบการณ์ต่างๆ ของจิตนั้น ดึงจิตนั้นเอียงมาทางนี้; เพราะสิ่งที่เรียกว่าความรู้, ความรู้หรือโพธินั้นเป็นเจตสิกไม่ใช่จิต, คือเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับจิต เป็นพวกเจตสิก เป็นสมบัติของจิต. ส่วนจิตนั้นมีหน้าที่รู้, ถ้ามันมีสมบัติที่ทำให้รู้ประเภทไหน มันก็รู้ประเภทนั้น, ถ้าสมบัติประเภทอกุศล มันก็รู้ฝ่ายอกุศล, ฝ่ายอกุศลมันก็รู้ฝ่ายกุศล, มันจิตตัวนั้น. แต่จิตตัวนั้นแหละจะเป็นจิตที่จะตรัสรู้; ฉะนั้นเขาจึงเรียกมันว่าโพธิจิต อยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเมื่อมันมีอยู่ในป่า เป็นวัวเปลี่ยว มันก็ตัวนั้น, ไปคล้องคอมาก็ตัวนั้น, เฆี่ยนตีมันก็ตัวนั้น, ฝึกมันก็ตัวนั้น ฝึกแล้วมันก็ตัวนั้น.เพราะฉะนั้นมันมีการจับวัว และฝึกวัว อยู่ชั่วระยะหนึ่ง คือระยะที่มันยังไม่เบิกบาน เป็นการตรัสรู้. ผู้ฝึกก็คือฝ่ายกุศล, ผู้ถูกฝึกก็คือฝ่ายอกุศลจิตคือตัวจิต, จิตมีตัวเดียว ถ้าฝ่ายอกุศลเจตสิกครอบงำ ก็เป็นผู้ฝึกขึ้นมา เป็นเด็กๆ คือผู้ฝึกขึ้นมา เราเรียกว่าเด็ก. คนนั้นเรียกว่าเด็กหมายความว่าคนโง่เหมือนกัน ถึงจะรู้จักฝึกวัว ฝึกอะไร ก็ยังเป็นเด็ก คือยังโง่อยู่, ถึงจะฝึกวัวสำเร็จมันก็ยังคือเด็กโง่อยู่ เพราะมันยกหูชูหาง สำคัญ
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม2--ธรรมโ... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,650