สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,422,091 |
เปิดเพจ | 17,076,845 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
เยาวชน กับ ศีลธรรม - ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
18.งแถบแดง
-
เข้าชม
2,736 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง เยาวชนกับศีลธรรม
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 490 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.........................................................................................................................................................................
สารบาญ เยาวชน กับ ศีลธรรม
๑. ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับเยาวชน .... .... .... .... หน้า ๑๒. เยาวชนอภิชาตบุตร .... .... .... .... .... " ๒
๓. การสร้างเยาวชนแห่งยุคปัจจุบัน .... .... .... .... " ๗
๔. ศาสตร์ในการสร้างเยาวชน .... .... .... .... " ๑๒๑
๕. ตรีรัตนศาสตร์สากล .... .... .... .... .... " ๑๖๕
๖. พุทธศาสตร์สำหรับเยาวชน .... .... .... .... " ๒๐๕
๗. ธรรมศาสตร์สำหรับเยาวชน .... .... .... .... " ๒๕
. สังฆศาสตร์สำหรับเยาวชน .... .... .... .... " ๓๑๐
. ไทยตรียางคศาสตร์สำหรับเยาวชน .... .... .... " ๓๖๒
๑๐. ศีลธรรมแห่งการต่อสู้สำหรับเยาวชน .... .... .... " ๔๐๐
๑๑. ทางเขวและทางตรงของเยาวชน .... .... .... " ๔๓๕
๑๒. ศีลธรรมเกี่ยวกับความมั่นคงของชนชาติไทย .... .... .... " ๔
ดูความหมายของ"เยาวชน".
ทีนี้ขั้นต่อไป จะดูที่ความหมายของคำว่า "เยาวชน" อาตมาอยากจะใช้คำว่า "เยาวชน"ให้มันชัด เป็นภาษาไทย ซึ่งแปลว่า ผู้เยาว์. ถ้าภาษาบาลี มันมีว่า "ยุ-ว" ไม่ใช้ "เยา-ว"; ยุ-ว นี่แปลว่า ยังหนุ่ม ยังสาว คือ วัยรุ่น. ยุวา เป็นเพศชาย, ยุวตี เป็นเพศหญิง; นี้เราเรียกว่าคนหนุ่มสาว.
แต่ถึงอย่างไรก็ดี คำว่า "ยุว" นั้น ก็ยังแปลว่า "อ่อน" อยู่นั่นแหละ, อย่างน้อยก็อ่อนต่อโลก; เกิดมาในโลกไม่กี่ปี มันยังอ่อนต่อโลก มันยังพร้อมที่จะทำผิดอยู่เรื่อย เมื่อบิดามารดาไม่ประคับประคองให้ดี. ความอ่อนต่อโลกของเขานั่นแหละ จะเป็นปัญหาขึ้นมา จะทำลายตัวเขาเองด้วย,และมันย่อมจะทำลายบิดารมารดาเป็นธรรมดา; นี่แหละความหมายของคำว่า "เยาวชน" มันน่ากลัวอย่างนี้
-๘-
คำว่า "ยุ-ว" ก็แปลว่า "อ่อน" ความหมายคาบเกี่ยวไปถึงคำว่า "พา-ล", ก็แปลว่า"อ่อน"; อ่อนยิ่งไปกว่า "ยุ-ว" เสียอีก. เด็กทารกนอนแบเบาะอยูั่นี้ เขาเรียกว่า "พา-ล" ซึ่งมาเป็นภาษาไทยว่า "คนพาล" หรือ "พา-ล" พาล นั่นแหละ
คำว่า "พาล" นั้นแปลว่า "อ่อน" เป็นชื่อของเด๋กทารกแบเบาะ; แต่เดี๋ยวนี้เอามาใช้เป็นชื่อของคนโต ๆ ที่อ่อนด้วยสติปัญญาอย่างมาก จึงเรียกว่า "พา-ล" หรือ "คนพาล"; ถ้ามากเกินไป ก็เลยเรียกว่า "อันธพาล" ไปเสียเลย.
มีอีกคำหนึ่ง คือ คำว่า "มัน-ท" มอ ม้า ไม่ผัด นอ หนู ทอ ทหาร; มันท อย่างนี้ ก็แปลว่า"อ่อน" คือ เขลาเพราะอ่อนด้วยสติปัญญา เหมือนกันแต่ถ้าไปเทียบกับคำว่า "อันธ" ที่ ธอ ธง อยู่ท้าย;แล้วนั่นก็คือ มือบอด หรือ ตาบอด; มันอ่อนจนไม่มีปัญญาเหลืออยู่เลย มันก็เหมือนกับตาบอด,เหมือนกับมืดที่ปราศจากแสงสว่าง.
อย่างไรก็ดี จะสรุปใจความของคำว่า "ยุ-ว" ได้ จากคำเหล่านี้ ก็คือ "อ่อน" : ร่างกายก็อ่อน จิตใจก็อ่อน สติปัญญาก็อ่อน อะไรมันก็อ่อน, ยังอ่อน. อ่อนนี้เป็นอัตรายง่าย, แล้วอ่อนนี้คือไหวไปง่าย; ไหวทางผิด มันก็ผิดมาก เพราะมันไหวง่าย. นี้คือความหมายตามตัวหนังสือของคำว่า"เยาวชน" หรือ ใครจะเรียกว่า "ยุวชน" ก็ได้ แล้วแต่ถนัด.
ทีนี้ คำว่า "ยุวชน" หรือ เยาวชน" ก็ดี มันมีความหมายอยั่ ๒ ระดับ ระดับภาษาอย่างหนึ่ง,ระดับภาษาธรรมนี้อย่างหนึ่ง. -๙-
อาตมาอยากจะขอร้องว่า ท่านทั้งหลาย จงกำหนดจดจำหลักที่เกี่ยวกับภาษาคน และภาษาธรรมนี้ไว้ให้ดี ๆ; มันจะช่วยได้มากในการที่จะเข้าใจอะไร. พอจะวินิจฉัยคำใด หรือสิ่งใด ก็ตั้งปัญหาขึ้นมาก่อนว่า ในภาษาคนว่าอย่างไร? ในภาษาธรรมว่าอย่างไร?
ในการนี้ คำว่า "ยุวชน" ในภาษาคน หมายถึง คนอายุน้อย; แต่ในภาษาธรรม คำว่า"ยุวชน" หมายถึง อ่อนด้วยคุณสมบัติ.
สรุปอีกทีหนึ่งว่าถ้าภาษาคนนี้ เขาถือเอาตามอายุ ตามวัย; วัยน้อย อายุน้อย ก็เรียกว่า"ยุวชน". ถ้าเป็นภาษาธรรมก็ถือเอาตามคุณสมบัติ ถ้าคุณสมบัติมันน้อย ก็เป็นยุวชน ตามภาษาธรรม;ฉะนั้น ยุวชน ตามภาษาธรรมนี้อาจจะเป็นคนแก่ หัวงอก ฟันหัก อยู่แล้วก็ได้. เข้าใจเอาเองก็แล้วกันว่าหัวหงอกแล้ว ฟันหักแล้ว หนังย่นแล้ว มันก็ยังเป็น "ยุวชน" อยู่, เป็น"เยาวชน" อยู่ ในความหมายของภาษาธรรม
คิดดูให้ดี แล้วเดี๋ยวนี้ปัญหามันก็จะเข้ามาถึงพวกเรา ที่นั่งอยู่ที่นี่ละหัวหงอกแล้วไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ มันยังเป็น"ยุวชน" หรือ "เยาวชน";เพราะฉะนั้นการที่อาตมาเอาปัญหาของเยาวชนขึ้นมาพิจารณานี้ มันเหมาะสมแล้วแก่โอกาส; เพราะว่า คนหลายคน อาจจะกำลังเป็นเยาวชนอยู่แล้วทั้งที่หัวหงอกแล้วก็ได้.
เป็นอันว่า เยาวชน ในความหมายของภาษาคน ก็คือคนอายุน้อย, ความหมายในภาษาธรรม ก็คือคนที่ยังมีคุณธรรมน้อย
สินค้าที่ดูล่าสุด
- เยาวชน กับ ศีลธรรม - ธรรม... ราคา 200.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,650