สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,420,032 |
เปิดเพจ | 17,074,685 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พระพุทธวจนะ-คาถาธรรมบทจากพระไตรปิฎก-ราคา600บาท
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
พุทธวจนะ600
-
เข้าชม
5,900 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
09/10/2020 10:47
-
รายละเอียดสินค้า
พระพุทธวจนะ
คาถาธรรมบท จาก พระไตรปิฎก
พร้อมความเป็นมาของเรื่อง และคำอธิบายของทุกพุทธวจนะ ของพระอรรถกถาจารย์
เรียงเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และ ดร.โรศะนี เวชประพันธ์
ราคาเล่มละ 600 บาท+ จัดส่งเคอรี่ 160บาท
= 760 บาท (สำหรับท่านที่ให้จัดส่งทั่วประเทศ)
📱สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
👨🏻💻 LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps🚙
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
รายละเอียด : พระพุทธวจนะ คาถาธรรมบท จาก...พระไตรปิฎก
พระพุทธวจนะ คาถาธรรมบท จาก...พระไตรปิฎก
พุทธกิจปีที่ ๑ - พุทธกิจปีที่ ๔๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "ธมฺมปทคาถา"
(คาถาธรรมบท, คาถาแสดงบทแห่งธรรม) แก่บุคคลต่างๆ ณ สถานที่ต่างๆ, ๓ เดือน
หลังพุทธปรินิพพาน (๙ เดือนก่อน พ.ศ.) พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
ได้ประชุมกันเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตลอดพระชนม์ชีพ
ณ ถ้ำสัตตบรรณ ภูเขาเวภาระ เขตกรุงราชคฤห์เป็นเวลานาน ๗ เดือน เป็นปฐมสังคายนา
เกิดการท่องจำพระธรรมวินัยที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" (บอกด้วยปาก, จำไว้ด้วยการท่อง)
พ.ศ. ๔๕๐ (บางแห่งว่า ๔๓๓) ภิกษุสงฆ์ในลังกาทวีปคำนึงว่าภายหน้ากุลบุตร
จะมีสติปัญญาเสื่อมถอยลง จะไม่อาจจดจำพระธรรมวินัยด้วยวิธี "มุขปาฐะ"
ต่อไปได้, พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป จึงประชุมสาธยายมุขปาฐะแล้วจารึกคำสอนลงในใบลาน
ณ อาโลกเลณสถาน มลยชนบท, ต่อมามีการเรียกจารึกนี้ว่า "พระไตรปิฎก"
และยังมีการจารึกอรรถกถาบางส่วนด้วย เรียกการประชุมครั้งนี้ว่าสังคายนาครั้งที่ ๕
พ.ศ. ๙๕๖ ภิกษุสงฆ์ในลังกาทวีป ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๖ ณ โลหปราสาท
เมืองอนุราธปุระ เพื่ออธิบายพระธรรมวินัยโดยอาศัยแนวจากอรรถกถาสีหลที่มีอยู่บ้างแล้ว
ก็เกิดเป็นอรรถกภาษาสีหล ใช้ประกอบการอธิบายพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๙๖๕-๙๗๓ พระพุทธโฆสะชาวชมพูทวีปเดินทางมาลังกาทวีป
ขออนุญาตแปลคัมภีร์อรรถถาภาษาสีหลเป็นภาษามคธ
ซึ่งหนึ่งในคัมภีร์อรรถกถาก็คือ ธัมมปทัฏฐกถา
(อรรถกถาเป็นเครื่องพรรณนาซึ่งเนื้อความแห่งธรรมบทที่กล่าวถึง
ความเป็นมาของพระพุทธวจนะเรื่องธรรมบทในแต่ละคาถา)
สารบัญ : พระพุทธวจนะ
คาถาธรรมบท จาก...พระไตรปิฎก- บทนำเรื่อง
- ความเป็นมาของพระพุทธพวจนะเรื่อง "ธมฺมปทคาถา" และอรรถกถา "ธัมมปทัฏฐกถา"
- คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑ : ยมกะวรรค (ว่าด้วยเรื่องธรรมคู่ เป็นต้น)
เช่น เรื่องคนใจดีกับคนใจชั่ว เรื่องผู้ผูกเวรกับผู้ไม่ผูกเวร
เรื่องความสามัคคีกับความแตกสามัคคี ทรงชี้ให้เห็นคุณของธรรมฝ่ายดี
และชี้ให้เห็นโทษของธรรมฝ่ายชั่ว พร้อมทั้งแนวทางในการทำดีละเว้นชั่ว
เช่น ทรงสอนให้เห็นผลของการมีความคิดชั่วว่า - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒ : อัปปมาทะวรรค (ว่าด้วยเรื่องความไม่ประมาทและความประมาท)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้ทำความดีตามแนวอัปปมาทธรรม
คือ ความไม่ประมาท ความไม่ประมาทนี้ถือว่าเป็นยอดแห่งธรรม
เพราะธรรมทั้งหมดรวมลงในความไม่ประมาท
เหมือนรอยเท้าของสัตว์ทุกชนิดรวมลงในรอยเท้าช้าง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๓ : จิตตะวรรค (ว่าด้วยเรื่องจิต)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้ปฏิบัติโดยการควบคุมจิต
เพราะธรรมชาติของจิตคือ ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก
ห้ามยากต้องควบคุมให้ตรง เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง
จิตนี้มักดิ้นรนไปมาเหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นมาไว้บนบก เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ (คือกาย) - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๔ : บุปผะวรรค (ว่าด้วยเรื่องดอกไม้)
ในวรรคนี้ ทรงสอนธรรมโดยเปรียบเทียบกับสิ่งธรรมชาติ คือ ดอกไม้
ทรงเปรียบเทียบดอกไม้กับกิเลสบ้าง เปรียบเทียบอาการเก็บดอกไม้
กับอาการในการปฏิบัติธรรมบ้าง ธรรมบทแต่ละบทสามารถนำมาเป็นแนวทาง
ในการทำความดีได้อย่างชัดเจน - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๕ : พาละวรรค (ว่าด้วยเรื่องคนพาล เป็นต้น)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องคนพาล คือ คนโง่ ไม่มีปัญญา
ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ไม่รู้จักพระสัทธรรม
ทรงเน้นให้เห็นโทษของความเป็นคนพาล และวิธีปฏิบัติต่อคนพาล
ทรงเปรียบเทียบระหว่างคนพาลกับบัณฑิตผู้ประสงค์จะทำความดีตามแนวทางในธรรมบทวรรคนี้ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๖ : ปัณฑิตะวรรค (ว่าด้วยเรื่องบัณฑิต)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้เป็นบัณฑิต ให้คบบัณฑิต
คำว่า บัณฑิต หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ประการ
โดยสรุปก็คือ ผู้คิดดี ทำดี พูดดี ถ้าพบบัณฑิตเช่นนี้ ให้คบท่านไว้
ก็จะมีแต่ความเจริญ ไม่มีเสื่อมเลย ถึงแม้ท่านจะชี้โทษ
ก็ให้ถือว่าท่านเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๗ : อรหันตะวรรค (ว่าด้วยเรื่องพระอรหันต์)
ในวรรคนี้ ทรงแสดงคุณสมบัติของพระอรหันต์
ซึ่งควรถือเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีและควรปฏิบัติตามแนวทาง
ของท่านคุณสมบัติของพระอรหันต์ในที่นี้ คือ ไม่มีความเร่าร้อน
กระวนกระวาย ไม่ติดอาลัย บรรลุนิพพาน เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา
จะอยู่ ณ สถานที่ใด ๆ จะเป็นบ้านหรือป่าก็ตาม สถานที่นั้น ๆ
ย่อมเป็นที่รื่นรมย์ เพราะท่านไม่แสวงหากามอีกต่อไป - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๘ : สหัสสะวรรค (ว่าด้วยเรื่องวาจาหนึ่งพัน เป็นต้น)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้เราทราบว่า อะไรคือสาระของชีวิต
อะไรคือความไร้สาระของชีวิต การกระทำอย่างไรมีสาระ อย่างไรไร้สาระ
ทรงเปรียบเทียบชีวิตหรือการกระทำที่มีสาระจำนวน ๑
ว่ามีคุณค่ามากว่าชีวิตหรือการกระทำที่ไร้สาระจำนวน ๑,๐๐๐ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๙ : ปาปะวรรค (ว่าด้วยเรื่องบาป)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้รู้จักบุญและบาป
รวมทั้งผลของบุญและบาปว่ามีความแตกต่างกัน
ให้พยายามรีบเร่งทำบุญละเว้นบาป บุญต้องหาบ
บาปต้องละ ถ้าทำบุญช้า บาปมักจะเข้ามาแทนที่ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๐ : ทัณฑะวรรค (ว่าด้วยเรื่องโทษทัษฑ์ เป็นต้น)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ คือ การใช้กำลังทำร้าย
เข่นฆ่า หรือเบียดเบียนผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อน
หรือพูดวาจาหยาบคายให้ร้ายป้ายสี ทรงชี้ให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายรักสุข
เกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ควรเบียดเบียนกัน ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น
จะได้รับโทษต่าง ๆ เช่น ได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เสื่อมทรัพย์ ถูกทำร้าย - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๑ : ชราวรรค (ว่าด้วยเรื่อง ความแก่, ความเสื่อม)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องความชรา คือ ความแก่ ความทรุดโทรม
ซึ่งเป็นเสมือนไฟเผาผลาญชีวิตสรรพสัตว์อยู่เป็นนิตย์ ความแก่ชรานี้
แม้จะเป็นความจริงด้านหนึ่งของชีวิต แต่ก็ไม่เป็นที่น่าปรารถนาของมนุษย์
ไม่ว่าหญิงหรือชาย หากสอนเรื่องนี้ด้วยวิธีการธรรมดา
อาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ฟัง และไม่เกิดประโยชน์มากนัก
ในธรรมบทวรรคนี้ ทรงใช้วิธีการสอนต่าง ๆกัน - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๒ : อัตตะวรรค (ว่าด้วยเรื่องตน คือ ตัวเราเอง)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องตน คำว่า ตน ในที่นี้ หมายถึงผู้กระทำ (สยกตฺตา)
โดยทั่วไป ไม่ได้หมายถึง อัตตา หรืออาตมัน ในศาสนาพราหมณ์
พระองค์ทรงสอนให้รู้จักรักษาตนด้วยการทำดี ให้รู้จักวางจังหวะของชีวิต
ในทำนองที่ว่า วัยแรกเรียนวิชา วัยต่อมาสร้างหลกฐาน วัยแก่ทำบุญ
จะเกิดคุณตลอดกาล ทรงสอนให้ฝึกฝนตนและทำตนให้เป็นที่พึ่ง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๓ : โลกะวรรค (ว่าด้วยเรื่องโลกประเภทต่างๆ)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องเกี่ยวกับโลก คำว่า โลก
ในที่นี้มีความหมายหลายอย่าง คือ โลกคือหมู่สัตว์
โลกคือแผ่นดินโลกคือภพนี้และภพหน้า โลกคือขันธ์ ๕ โลกคือชาวโลก
โลกคือวัฏฏทุกข์ (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๑-๔๒) ทรงสอนให้อยู่ในโลกอย่างไม่ประมาท
ไม่ควรเป็นคนรกโลก (น สิยา โลกวฑฺฒโน)
ให้อยู่อย่างมีคุณธรรมจึงจะมีความสุข ดังพระดำรัสที่ว่า
ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๔ : พุทธะวรรค (ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องพระพุทธเจ้า พุทธภาวะ
และคำสั่งสอน คำว่า พระพุทธเจ้า คือ
ผู้ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง
และทรงสามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๕ : สุขะวรรค (ว่าด้วยเรื่อง สุขประเภทต่างๆ)
ในวรรคนี้ ทรงสอนวิธีสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ชีวิต
ทรงชี้ให้เห็นว่า การแข่งดีมุ่งจะเอาชนะผู้อื่นทำให้ไม่มีความสุข ก่อให้เกิดภัยเวร
- คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๖ : ปิยะวรรค (ว่าด้วยเรื่องสิ่งอันเป็นที่รัก)
ในวรรคนี้ ทรงสอนวิธีที่ควรปฏิบัติต่อสิ่งอันเป็นที่รัก คำว่า สิ่งอันเป็นที่รัก มี ๒ ประเภท คือ
๑. ทางโลก หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งที่มากระทบ)
และธรรมารมณ์ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือหมายถึงกิเลสตัณหา
๒. ทางธรรม หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน บุญกุศล - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๗ : โกธะวรรค (ว่าด้วยเรื่อง ความโกรธ เป็นต้น)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องความโกรธ โทษแห่งความโกรธ
วิธีละความโกรธ ประโยชน์ของการละความโกรธ
วิธีละความโกรธ คือ ให้เห็นว่าเป็นโลกธรรม มีมานานแล้ว
ทุกยุคทุกสมัย เช่น ความโกรธที่เกิดจากถูกนินทาว่าร้ายทรงสอนว่า
“นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต” คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลกหน้าที่ของเรา
คือ สำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ให้กำเริบ - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๘ : มละวรรค (ว่าด้วยเรื่องมลทิน)
มลทินดังกล่าวมานี้ ย่อมทำลายชีวิตของผู้ที่มีมลทิน
เหมือนสนิมที่เกิดจากเหล็กก็กัดกินเหล็กนั้นนั่นเอง
ผู้มีปัญญาควรกำจัดมลทินของตนทีละน้อย ทุกขณะ
โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๑๙ : ธัมมะวรรค (ว่าด้วยเรื่องผู้มีธรรมแล้ว)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องคุณธรรม
ที่ทำให้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยทรงแสดง
ไปตามหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่ทรงตรัสถึง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๐ : มัคคะวรรค (ว่าด้วยเรื่องทางหรือข้อปฏิบัติ)
ในวรรคนี้ ทรงแสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นทางอันประเสริฐที่สุด
ทรงย้ำว่า “ทางเพื่อความหมดจดแห่งทรรศนะ
คือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แล เพราะทางนี้เป็นทางลวงมารให้หลง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๑ : ปกิณณกะวรรค (่ว่าาด้วยเรื่องเบ็ตเตล็ด)
ในวรรคนี้ ทรงสอนหลักธรรมทั่วไป เช่น
-ในเรื่องบุรพกรรมของพระองค์ ทรงสอนให้สละสุขเล็กน้อยเพื่อความสุขอันยิ่งใหญ่
-ในเรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ ทรงสอนว่า ผู้หาความสุขจากความทุกข์ของผู้อื่น ไม่พ้นจากเวรไปได้
-ในเรื่องภิกษุโอรสของเจ้าวัชชี ผู้เห็นชาวเมืองจัดงานสมโภช คิดจะสึกไปครองเรือน - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๒ : นิรยะวรรค (ว่าด้วยเรื่องนรกและทุคติ)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องนรก ซึ่งเป็นสถานที่รองรับคนชั่ว
รวมทั้งผู้ที่ต้องตกนรก ซึ่งเป็นผู้ที่ทำกรรมชั่วต่าง ๆ เช่น
๑. ชอบกล่าวคำไม่จริง
๒. ทำความชั่ว ซ้ำยังโกหกว่าไม่ได้ทำ
๓. เป็นภิกษุ แต่มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม ปฏิบัติไม่ดี
๔. ละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย
กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว ไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว เห็นสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
เห็นสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ผู้ที่ทำดีตรงกันข้ามกับความชั่วดังกล่าวมาแล้ว
ย่อมไปสู่สวรรค์ แนวทางปฏิบัติในเรื่องความดีความชั่ว - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๓ : นาคะวรรค (ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับช้าง)
ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องการฝึกตนเปรียบเทียบกับการฝึกช้าง
เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญในการสงคราม การเดินทาง
และเป็นสัตว์ที่ฝึกง่าย เมื่อได้รับการฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นสัตว์ฉลาด
มีความอดทนสูง ผู้ที่ฝึกตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าช้างที่ฝึกแล้ว - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๔ : ตัณหาวรรค (ว่าด้วยเรื่องตัณหา)
ในวรรคนี้ ทรงสอนให้รู้จักตัณหา (ความทะยานอยาก)
๓ ประการ คือ
(๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม
(๒) ภวตัณหา ความอยากเป็น
(๓) วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๕ : ภิขุวรรค (ว่าด้วยเรื่องภิกษุ)
ในวรรคนี้ ทรงแสดงเรื่องภิกษุ ทรงสอนว่า สิ่งแรกที่ภิกษุผู้มีปัญญา
ในศาสนานี้ต้องกระทำคือ สำรวมอินทรีย์ มักน้อยสันโดษ
ระมัดระวังในวินัยบัญญัติ คบกัลยาณมิตร ผู้ขยันขันแข็ง มีอาชีพสะอาด
ทรงสอนไม่ให้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มุ่งเจริญกรรมฐาน
ไม่ถือมั่นในรูป ไม่ประมาท รู้จักตักเตือนตนเอง รู้จักพึ่งตนเอง - คาถาธรรมบทวรรคที่ ๒๖ : พราหมณะวรรค (ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติของพราหมณ์)
ในวรรคนี้ ทรงแสดงคุณสมบัติของพราหมณ์ ตามพุทธทรรศนะ
เดิมที คำว่า พราหมณ์ เป็นคำเรียกวรรณะพราหณ์ของชาวอินเดีย
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น พระองค์ทรงบัญญัติคุณสมบัติของพราหมณ์ใหม่
ซึ่งก็คือพระขีณาสพนั่นเอง คุณสมบัติของพราหมณ์หรือ
พระขีณาสพที่ทรงแสดงไว้ในวรรคนี้
เป็นคุณสมบัติและปฏิปทาของพระสาวกแต่ละท่าน - -จบ ครบทั้ง 26 วรรค-
ธรรมบท คืออะไร // บทความน่ารู้ ในพระไตรปิฎก?คำว่า ธรรมบท แปลว่า บทแห่งธรรม คัมภีร์ธรรมบทจึงเป็นคัมภีร์รวบรวมบทธรรมต่าง ๆที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นพุทธภาษิตแก่บุคคลต่าง ๆ ต่างกรรม ต่างวาระต่างสถานที่ เป็นบทธรรมสั้น ๆ ในรูปคาถาประพันธ์เป็นบทร้อยกรองหรือบทกวีตามหลักฉันทลักษณศาสตร์ ผู้อ่านสามารถจดจำได้ง่าย และมีความไพเราะลึกซึ้งมากที่สำคัญคือ ธรรมบทแต่ละบทล้วนเป็นสัจจธรรม และถือว่าเป็นอมตวาจาของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียวนัยว่า บรรดาคัมภีร์ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ธรรมบทเป็นคัมภีร์ที่มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากที่สุดธรรมบทจึงเป็นเพชรงามน้ำเอกชั้นเยี่ยมที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
การศึกษาธรรมบท ควรศึกษาหนังสืออธิบายธรรมบทด้วยซึ่งเรียกว่า อรรถกถาธรรมบท เป็นหนังสือที่พระภิกษุสามเณรผู้เริ่มต้นเรียนภาษาบาลีจะต้องแปลให้ได้ เพราะเป็นหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน
ในธรรมบทนี้ มีบทธรรม ๔๒๓ บท โดยนับตามจำนวนคาถาแต่ถ้านับเป็นเรื่อง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงมีจำนวนมากถึง ๓๐๒ เรื่องเรื่องเหล่านี้ท่านจัดรวมกันเป็นหมวด เรียกว่า วรรค มีจำนวน ๒๖ วรรคในแต่ละวรรคมีหัวข้อธรรมอยู่เป็นจำนวนมากหัวข้อธรรมเหล่านี้เป็นพุทธวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอนบุคคลต่าง ๆในต่างสถานที่ ต่างเวลา จะขอหยิบยกมาอธิบายเป็นตัวอย่างเป็นบางบทเท่านั้นแต่พึงทราบว่า ธรรมบทนั้นมีความสำคัญทุกบทหากได้นำมาเป็นแนวทางในการทำความดีก็จะได้รับประโยชน์สมดังปรารถนาทุกประการธรรมบท แปลว่า บทพระธรรม
หมายถึง พระพุทธดำรัส สอนธรรม
ที่อยู่ในพระธรรมเทศนาประเภท "คาถา"
(เรียกอีกอย่างว่า ประเภทร้อยกรอง) ได้รับการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่25 คือ ขุททกนกาย ธรรมบท (ธมฺมปท) มีทั้งหมด 423 คาถา แยกเป็นเรื่อง 302 เรื่อง(บางแห่ง ว่านับได้ 299 ฉบับ สังคายนาครั้งที่ 6 นับไว้ 305 เรื่อง) เช่น เรื่องที่ทรงปรารภถึงพระจักขุบาลเป็นต้น ในจำนวน 302 เรื่องนั้น ท่านจัดแบ่งเป็นตอนไว้ 26 ตอน หรือ 26 วรรคเช่น ยมกวรรค, เมื่อจัดโดย ภาณวาร คือ 8,000 อักขระ เป็น 1 ภาณวาร ก็เป็น 70 ภาณวารธรรมบท จึงมีอักขระ ทั้งสิ้น 560,000 อักขระ (8,000 x 70)
ดังที่โยชนาอัฏฐสาลินีสอนวิธีนับไว้ว่า"8 อักขระ เป็น 1 บาท ,คาถา หนึ่งมี 4 บาท นับเป็น 1 คันถะ,1 คันถะ มี 32 อักขระ,250 คันถะ นับเป็น 1 ภาณวาร,
1 ภาณวาร มี 8,000 อักขระ"แนะนำรายการหนังสือที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล 91 เล่มฉบับครบ 200 ปี
แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งหนังสือชุดนี้เป็นพระไตรปิฎก
ฉบับภาษาไทย ทั้งชุดบรรจุอยู่ในกล่องจำนวน 6 กล่อง ที่ดำเนินการจัดส่งทั่วประเทศโดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
ในราคามูลนิธิของมหามกุฏราชวิทยาลัย ยังไม่รวมค่าจัดส่ง 25,000 บาท
หนังสือพระไตรปิฎกชุด45เล่มภาษาไทย โดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปัจจุบันได้เปลี่ยน สีปกเป็นสีเหลืองเรียบร้อยแล้วครับ
หนังสือชุดนี้ เป็นหนังสือฉบับภาษาไทย ทั้งชุด 45 เล่ม แปลจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม ครบทั้งชุด
ซึ่งจัดส่งโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ และเป็นหนังสือธรรมะศึกษา สำหรับ
พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปที่ใคร่ศึกษา หลักพระธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ในราคามูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 15,000.- บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
ปัจจุบันได้เปลี่ยน สีปกเป็นสีเหลืองเรียบร้อยแล้วครับ
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย45เล่ม(ปกใหม่)
#หน้าปกสีเหลือง จัดพิมพ์จำนวนจัดกัดเพียง 1000 ชุด
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
ในวาระพิมพ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
: จัดส่งทั่วไทย โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
: #จัดพิมพ์จำนวนจำกัด1000ชุด #LINE : @trilakbooks
โทร 087-696-7771, 086-461-8505
พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย พร้อมอรรถกถาแปล จำนวน 100 เล่ม
หนังสือชุดนี้เป็นหนังสือพระไตรปิฎกฉบับ ส.ธรรมภักดี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ในหมู่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎก และยังเป็นหนังสือชุดนี้ เอาไว้สำหรับเทียบเคียงพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ
เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในภาษาฆราวาส ได้อย่างเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ราคาหนังสือชุดนี้ ปัจจุบัน 18,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มฉบับภาษาบาลี
ทีเป็นหนังสือชุดแรกที่เผยแพร่ในประเทศไทยในลักษณะรูปเล่ม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายในหนังสือชุดนี้
เป็นพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ตัวอักษรไทย ปัจจุบันหนังสือชุดนี้ราคา 13,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือชุดอรรถกถาภาษาไทย จำนวน 55 เล่ม ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 20000 บาท
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ชุดหนังสือธรรมะเชิงวิชาการ ที่ต่อยอดเพื่อความง่ายในการศึกษาพระไตรปิฎก
ให้มีความกระจ่างและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเป็นชุดหนังสือที่เหมาะแก่การศึกษาและ
สามารถนำไปถวายเป็นหนังสือสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ได้อีกด้วย
ชุดหนังสือ-ถวายพระสงฆ์-ชุดหลักแห่งพระพุทธศาสนา-3610-บาท
พระไตรปิฎกฉบับพุทธศาสนสุภาษิต ที่คัดเฉพาะ ตัวพุทธศาสนสุภาษิต
ในพระไตรปิฎกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมทั้งที่มาที่ไป ว่า พุทธศาสนสุภาษิตนั้นๆ มีที่มาอย่างไร
จำหน่ายในราคา 1300 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย) คลิ๊ก อ่านรายละเอียดที่นี่
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
รายละเอียดหนังสือพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า1. พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า 1 ชุด มีทั้งหมด 40 เล่ม
(พระวินัยปิฎก เล่ม 1-9 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10-33 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 34-40)
2. ขนาดหนังสือพระไตรปิฎกเท่ากระดาษ A4 พับครึ่ง ปก 4 สี อาบมัน ปั๊มนูนอาบสปอต พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตาเกรด A อ่านสบายตา
3. กล่องบรรจุพระไตรปิฎกทำด้วยกระดาษแข็งอย่างดี ทนทาน
จัดเข้าชั้นหนังสือได้ทันที ไม่ต้องหาตู้ใส่พระไตรปิฎกแยกต่างหากต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “ชวนชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎก”
เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยการอ่านพระไตรปิฏกฉบับกระเป๋า วันละ 5 หน้าเป็นอย่างน้อย โดยตั้งมโนปณิธานอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า
ชาตินี้จะอ่านพระไตรปิฎกให้จบสัก 1 รอบเป็นอย่างน้อยให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธพบพุทธศาสนา เชิญท่านสั่งซื้อพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
เพื่อเอาไว้อ่านในครอบครัวของท่านเอง เพื่อถวายวัดถวายพระภิกษุสงฆ์
มอบให้โรงเรียน มอบให้ห้องสมุดต่าง ๆ
หรือมอบเป็นธรรมบรรณาการแด่บุคคลที่เคารพนับถือ
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
หนังสือพระไตรปิฎกฉบับนี้เป็นหนังสือที่ได้ทำการจัดพิมพ์ใหม่ทั้งเล่ม แต่เนื้อหาและเนื้อใน
ของหนังสือ เหมือนเดิมกับ พระไตรปิฎก ฉบับปกสีเขียวปกแข็ง ทุกประการ
แต่ตัวหนังสือขนาดที่ใหญ่ขึ้น และ เพิ่มภาพประกอบการสังคายนาพระไตรปิฎกเข้าไปใหม่
ในรูปปกปกหนังและความพิเศษของขอบกระดาษหนังสือเป็นสีทอง ทั้งเล่ม
จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย เช่นเดิมครับ
หนังสือพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน พิมพ์ใหม่ล่าสุด ราคา 500 บาท
คัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับภาษาบาลี เป็นผลงานรจนาของพระพุทธโฆสะเถระ
นักปราชญ์ชาวอินเดีย รจนาขึ้น เมื่อ พุทธศักราช 956 ในคณะสงฆ์คณะมหาวิหาร
ณ กรุงอนุราธปุระประพเทศลังกา (ศรีลังกา)สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับแปลเป็นภาษาไทยฉบับนี้
เป็นผลงานแปลและเรียบเรียงโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทฒาจารย์ (อาจ อาสภเถร)
อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมของท่านผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าหลักธรรมและปฏิบัติธรรมทั่วไป
ให้การยอมรับว่าเป็ฯสำนวนการแปลที่อ่านเข้าใจง่าย
การแปลและเรียบเรียงคำนึงถึงผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาบาลีน้อยจะอ่านเข้าใจยากเป็นความสำคัญ
จึงได้นำข้อความบางส่วนในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสามหาฎีกามาขยายเสริมความทำให้อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
หนังสือพระไตรปิฎก ประชาชน
หรือไตรมาส เล่มเดียวจบ ที่รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ปุ้ย แสงฉาย อนงคาราม เล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีท่านที่สนใจ หลายท่าน
ได้สอบถามกับ ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎก ไตรลักษณ์
จึงได้นำมาเผยแพร่ ในราคาเดียวกันกับ สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี
พระไตรปิฎก เล่มนี้ เป็นหนังสือปกแข็ง
เย็บกี่ กระดาษปอนด์ สีขาว ตัวหนังสือ ขนาด 18 P
ซึ่งถือว่า เป็นเป็นขนาดตัวอักษร ขนาดใหญ่
จึงเหมาะสำหรับท่านผู้มีปัญหาสายตา ว่าจะสามารถอ่านได้อย่างสบาย
หนังสือพระไตรปิฎกฉบับเล่มเดียวจบ เล่มนี้นั้น ราคาเล่มละ 500 บาท
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และ พระเขมินทเถระ
พิมพ์เผยแพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จำนวน 538 หน้า // ขนาด 16*21.5 เซนติเมตร // ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
หมายเลข ISBN : 978-616-300-339-3
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1949383/วิมุตติมรรค-ทางแห่งความหลุดพ้น-ราคาเล่มละ300บาท.html
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 300 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 80 บาท ต่อ 1 เล่ม
**หากสั่งให้ส่งจำนวนหลายเล่ม ศูนย์จัดส่งจะประมวลค่าจัดส่งให้ใหม่
ในราคาบริษัทขนส่งเอ็กเพรส ทั่วไทย ในราคาที่ถูก ตาม ที่อยู่ที่ให้จัดส่ง ของลูกค้าต่อไปฯ**
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
ชุดหนังสือ วิสุทธิมรรค-และ-วิมุตติมรรค-900บาท
เป็นหนังสือที่มีความเกี่ยวเนื่องล้อกันอยู่ถึงแม้จะถูกรจนาขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
จำนวน 2 เล่ม นี้จึงเป็นที่นิยมใช้ และนำไปเป็นหลักอ้างอิงเชิงพระพุทธศึกษาในวงกว้าง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 900 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 250 บาท ต่อ 1ชุด
รวมเป็นชุดละ 1150 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1961522/ชุดหนังสือวิมุตติมรรค-และ-คัมภีร์วิสุทธิมรรค-900บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
ชุดหนังสือ ภาษาไทย - อังกฤษ
หนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล-และ-COMMON-BUDDHIST-TEXE
2 เล่ม ชุดละ 860 บาท + ค่าจัดส่ง 150 บาท (เคอรี่ทั่วประเทศ)
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่
หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
จำนวน 1360 หน้า
จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้ ที่
http://www.trilakbooks.com/product/275612/หนังสือพุทธธรรม-700บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ชุดหนังสือ มิลินทปัญหา และ สัตตปัพพบุพพสิกขาและบุพพสิกขาวรรณนา
กระดาษถนอมสายตา // จำนวน 2 เล่ม
โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ขนาด 15.3 x 23 cm ราคา
ชุดละ 700 บาท + ค่าส่ง EMS 150 บาท
รวมเป็น 850 บาทLINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
---------------------------------------------
หนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สำหรับท่านที่ อยากจะพิมพ์หนังสือ พระไตรปิฎก
ฉบับรวบรัดตัดความให้เกิดความเข้าใจแบบง่ายๆ ในเรื่องพระไตรปิฎก
เพื่อแจกเป็นธรรมทาน "พระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้"
โดย (ป.อ.ปยุตฺโต) ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน 27 บาทเล่มนี้
ถือว่า เป็นหนังสือที่น่าสนใจ จะนำมาเป็นหนังสือแจก
นอกจากจะเป็นหนังสือที่ราคาไม่แพงแล้ว
ยังเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา
พระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้อีกด้วยครับ
สามารถจัดพิมพ์ข้อความแทรกในหนังสือ 1 หน้า เพือจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก📱สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
---------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับ ที่ทำให้ง่ายแล้ว โดย อาจารย์วศิน อินทสระ เป็นผู้รวบรวมเรียบเรียง
หนังสือพระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นหนังสือที่พูดถึงสำนวนที่เข้าใจง่าย ด้วยทำนอง
และการอธิบายแบบภาษาที่ไม่ใช่เป็นวิชาการมากจนเกินไป ใช้คำอ่านที่เข้าใจง่ายๆ
แต่ครอบคลุมบริบทและองค์ประกอบของพระไตรปิฎกเกือบจะครบทั้งหมด
เพื่อเป็นบันไดขั้นต่อไปในการศึกษาพระไตรปิฎกฉบับเต็มต่อไป ราคา 380 บาท - บทนำเรื่อง
Tags : พุทธวจนะ , พระไตรปิฎก , ธมฺมปทคาถา , คาถาธรรมบท
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พระพุทธวจนะ-คาถาธรรมบทจาก... ราคา 600.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,611ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,472 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,012ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,938 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,154ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,693 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,080พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,720 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,011คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,487 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,567พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,888 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,476พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 14,046 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,152นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,588