สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,419,999 |
เปิดเพจ | 17,074,645 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พระไตรปิฎกภาษาไทย-ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช-15000บาท
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
ISBN-974-575-369-6
-
เข้าชม
19,105 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/06/2020 14:35
-
รายละเอียดสินค้า
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่ม
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิมพ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
พุทธศักราช ๒๕๖๐
ISBN : 974-575-369-6
ราคามูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 15000 บาท(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ หรือ
สามารถมารับชุดพระไตรปิฎก ได้ที่ศูนย์หนังสือฯ ได้ด้วยตนเองครับ)
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---📱สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771ช่องทางการติดต่อทาง/สั่งซื้อทาง Line
👨🏻💻 LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps🚙
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ภาพบรรยากาศ คณะเจ้าภาพถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มสีเหลือง 45 เล่มพิมพ์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร องค์เอกอัคร-
ศาสนูปถัมภก ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เนื่องในการ
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ
มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๖๐
จำนวนพิมพ์ : ๑,๐๐๐ ชุด
จัดเรียงพิมพ์ : แผนกคอมพิวเตอร์ โครงการชำระพระไตรปิฎก ฯ
มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จัดส่งโดย ศุนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนา
ค ำ ป ร า ร ถ
พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสามเณรและ
พุทธศาสนิกชนใช้ศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้รู้ทั่วถึงพระธรรมวินัยและปฏิบัติตามพระ
ธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกพระ
ไตรปฎกว่า พระปริยัติสัทธรรม เพราะเป็นปทัฏฐานให้เกิดมีพระปฏิบัติสัทธรรม คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และพระปฏิเวธสัทธรรม คือ มรรค ผล นิพพานเป็นที่สุด
พระสงค์สาวกได้เห็นความสำคัญของพระไตรปิฎกที่จะต้องมีไว้เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ดังเช่นพระสารีบุตรพระอัครสาวกเบื้องขวาได้ปรารภที่จะทำสังคายนา
พระธรรมวินัยดังปรากฏในสังคีติสูตร ทั้งได้ปรารภแนวทางในการทำสังคายนาไว้
ก่อนแล้วแต่ยังไม่เสร็จก็นิพพานเสียก่อน จำเนียรการต่อมาหลังจากพุทธปรินิพพาน
พระมหาสวกทั้งหลายได้ทำสังคายนาพระธรรมวิในครั้งแรกด้วยการรวบรวมคำสั่ง
สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัดเป็นพระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
และพระอภิธรรมปิฎก พระสงค์สาวกต่อ ๆ มาก็ทรงจำเป็นจากปากต่อปากเรียก
ว่ามุขปาฐะ ต่อมาได้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย คือ พระไตรปิฎก โดยการจารึก
เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อสังคายนาครังที่ ๕ ประมาณพุทธศักราช ๔๓๓ ที่ประเทศ
ศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย
พระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ และอักขรวิธีของภาษามคธที่จะเป็นแนวทางให้เข้าใจอรรถ คือ ความหมายของภาษา
มคธได้เป็นอย่างดี ผู้ที่จะเรียนรู้พระไตรปิฎกนั้นต้องเรียนอักขรวิธีของภาษามคธ
วิธีศึกษาประไตรปิฎกก็ด้วยการทรงจำไว้ โดยนักศึกษาต้องทำความเข้าใจความ
หมายของภาษามคธให้ถูกต้องเสียก่อน และการที่จะเรียนรู้พระไตรปิฎกให้แตกฉาน
และเชี่ยวชาญได้นั้นจะต้องเรียนรู้อรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความของพระ
ไตรปิฎกนั้น ๆ โดยถือเป็นเนตติแบบอย่างสืบต่อกันมาจนกระทั่งมีการทดสอบ
ความรู้ของภิกษุสามเณรผู้ศึกษาพระไตรปิฎก เพื่อยกย่องพระภิกษุสามเณผู้มี
ความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกนั้น เรื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นภารธุระสำคัญทาง
พระพุทธศาสนาและทางราชอาณาจักร โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเอกอัคร-
ศาสนูปถัมภก ทรงเป็นพุทธมามกะ และได้ถวายอุปถัมภ์แก่พระภิกษุสามเณรให้
มีการศึกษาเล่าเรียนรวมทั้งการสอบความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ซึ่งเรียกว่า สอบ
พระปริยัติธรรมสนามหลวง แผนกบาลี จนกระทั่งยึดถือเป็นธรรมเนียมในประเทศ
ไทยสืบต่อมาจากทุกวันนี้
ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในพระไตรปิฎกดังกล่าวนี้ ได้มีการแปลพระไตรปิฎกซึ่งเป็นภาษมคธเป็นภาษาไทยตั่งแต่โบราณการแล้ว เฉพาะสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้มี
การแปลพระไตรปิฎกและอาราธนาพระมหาเถรานุเถระเข้าไปถวายพระธรรมเทศนา
ในพระบรมมหาราชวัง โดยเรยีบเรียงพระธรรมเทศนานี้ให้เป็นการแปลพระไตรปิฎก
อรรถกถา และฎีกา แบบแปลร้อย คือการยอพระบาลีขึ้นมาตั้งเป็นนิกเขปบทแล้ว
นำเอาอรรถกถามาขยายเพื่อให้ได้ใจความสละสลวย โดยผ่านการตรวจของคณะ
กรรมการซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธาน เพื่อให้พระธรรมเทศนาที่ถวาย
เป็นที่ถูกต้อง
แต่การแปลมีเฉพาะพระสุตตันตปิฎกเป็นพื้น ส่วนการแปลพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย ทั้งวัตถุประสงค์และสำนวนโวหารในการแปลก็แตกต่าง
ผิดเพี้ยนกันมาก ไม่สามารถคุมความติดต่อให้ครบถ้วนได้ตลอดสายทั้ง ๓ ปิฎก
ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๓ สมเด็จพระอริยะวงศาคตญาณ (แพ ตจิสฺสเทว-มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังปรินายก ทรงปรารภความสำคัญของ
การแปลพระไตรปิฎกในที่ประชุมพระเถรานุเถระว่า ควรดำเนินการให้มีการแปล
พระไตรปิฎกให้ครอบทั้ง ๓ ปิฎกอย่างสมบูรณ์ เพื่อเป็นเครื่องเฉลิมพระเกรียติแห่ง
พระมหากษัตริย์ และเป็นที่เชิดชูเกรียตแห่งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตร ให้
ปรากฏไพศาลไปตลอดถึงนานาประเทศ และโปรดให้ประธานคณะบัญชาการคณะ
สงค์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช ขอความอุปถัมภ์จากรัฐบาลซึ่งมี ฯ พณ ฯ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายารัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อดำเนินการแปลและ
จัหพิมพ์พระไตรปิฎก โดยตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมาธิการ แปละพระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก งานแปลได้ทำสืบต่อกันมาโดยอยู่ในพระ
บรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระประเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
การแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในครั้งแรกนั้นได้ถือเอาพระไตรปิฎกภาษามคธฉบับสยามรัฐมาเป็นต้นฉบับ แบ่งการแปลออกเป็น ๒ สำนวน คือแปลโดย
อรรถตามความพระบาลีพิมพ์เป็นเล่ม เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย จำนวน
๒,๕๐๐ ชุด ชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้เท่ากับพระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่
ทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พนนษา สำนวนหนึ่ง อีกสำนวนหนึ่งแปลเป็นสำนวนเทศนา
พิมพ์ลงในใบลานเรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง แบ่งเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์
เพื่อให้เท่ากับจำนวนสงฆ์สาวกที่มาประชุมฟังพระโอวาทปาติโมคข์ จากพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ในจำนวนนั้นแบ่งเป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระ
สุตตันตปิฎก ๑,๐๔๕ กัณฑ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์
ในโอกาสที่พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาถึง ๒๕ พุทธศตวรรษ
ในพระพุทธศักราช ๒๕๑๔ ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้เป็นครั้งที่ ๒เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙
ได้เสวยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง
โดยพิมพ์ ๒,๐๐๐ ชุด ชุดละ ๔๕ เล่ม เท่ากับจำนวนพระไตรปิฎกภาษามคธ
ฉบับสยามรัฐ ในพุทธศักราช ๒๕๒๑ ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้อีกเป็นครั้ง
ที่ ๓ จำนวน ๒,๐๐๐ ชุด ตามความประสงค์ของคณะสงฆ์และประชาชนที่ต้องการ
จะสร้าง และในพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้อีกครั้งเป็นครั้ง
ที่ ๔ จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสนทร์ครบ ๒๐๐ ปี
ในพุทธศักราช ๒๕๒๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาร (วาสน์ วาสนมหาเถร)สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงปรารภว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพุทธมามกะ ผู้มี
คุณูปการแก่พระพุทธศาสนาเป็นอเนกประการ จะมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ใน
พุทธศักราช ๒๕๓๐ จึงทรงแจ้งเรื่องนี้ให้มหาเถรสมาคมทราบ และขอความอุปถัมภ์
จากรัฐบาลซึ่งมี ฯฑณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมณตรี เพื่อถวาย
การสังคายนาตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจัดพระราชพิธีสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ณ วัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม ได้ตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะและกรรมะธิการพระไตรปิฎก ให้
ทำการตรวจชำระพระไตรปิฎกเป็นภาษมคธฉบับสยามรัฐที่ยังมีตกหล่นคลาด
เคลื่อนให้สมบูรณ์บริบูรณ์ และให้ตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับนี้ ณ ตำหนักสมเด็จ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งถือว่าเป็นงานระดับชาติและพระศาสนา ได้มีการ
พิมพ์พระไตรปิฎกภาษมคธ ฉบับสังคีติเตปิฎก ๑,๐๐๐ ชุด พระไตรปิฎกแปลฉบับ
สังคายนา ๓,๐๐๐ ชุด ให้ทันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กราบอนุโมทนาบุญแด่คณะเจ้าภาพผู้ถวายหนังสือพระไตรปิฎก45เล่มภาษาไทย ฉบับปกสีเหลืองของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ
ปิยะมหาราช รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตั้งแต่
พุทธศักราช ๒๔๓๒ โดยพระราชทานนามว่า มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อให้เป็นที่ศึกษา
พระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และโปรดพระราชทาน
เปลี่ยนนามใหม่เป็น มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๙ เพื่อให้
เป็นที่เฉลิมพีะเกียรติสืบไป ต่อมา สมเด็จพระพุฒาจาร (อาจ อาสภมหาเถร)
เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ และสภานายกมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้ปรารภที่จะสนองพระราชประสงค์
ของพระองค์ทรงสถาปนา และสารัตถะสำคัญอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ที่พึงมีแก่
พระพุทธศาสนา และเป็นอนุสรณ์ที่พระพุทธศาสนาได้ดำรงยั่งยืนมาถึง ๒๕๐๐
ปี และเพื่อให้เป็นคัมภีร์สำหรับศึกษาเล่าเรียนของของนิสิตมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย
สืบไป สืบไป จึงได้ให้มีการตรวจชำระสอบทานและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษมคธ ฉบับ
มหาจุฬาเตปิฎก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยให้ยกสูตร ตั้งข้อ ย่อหน้า ให้ชัดเจน สูตร
และหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นั้น ที่ไม่มีในพระไตรปิฎกมาตั้งแต่ดั้งเดิมก็ไม่ประกอบวิภัตติ
เป็นแบบอวิภัตตินิเทศ วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้เป็นคัมภีร์ศึกษาเล่าเรียน
ของนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสืบไป
ความเรื่องนี้ได้ทรงทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ และสมสมเด็จพระศรีนครินทรา-
บรมราชชนนี แต่ละพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
สร้างพระไตรปิฎกภาษาไทยมคธฉบับ มหาจุฬาเตปิฎก พระองค์ละ ๗๐,๐๐๐ บาท บาท
เป็น ๒๑๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มแรกในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ ต่อมาได้มี
ผู้เจริญศรัทธาตามเบื้องพระยุคบาท โดยเสด็จพระราชกุศลพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับ
นี้จนครบ ๔๕ เล่มบริบูรณ์ และต่อมา นายพร รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา
ศาสนา มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยความเห็นชอบของ
สภามหาวิทยาลัย ได้ประชุมศาสนบัณฑิตตรวจชำระและจัดพิมพ์อรรถกถาและ
ฎีกาภาษามคธ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครบบริบูรณ์แล้ว และมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมหกรรมสมโภช พระไตนปิฎกพร้อม
ทั้งอรรถกถา เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕
อิ่มเอมในบุญกุศลครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ที่ได้ถวายหนังสือพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ต่อมา มหาจุฬาราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ ได้ปรารภที่จะให้มีการแปลพระไตรปิฎกภาษามคธฉบับ มหาจุฬาเตปิฎก เป็นภาษไทยขึ้น โดย
มีวัตถุประสงค์แปลภาษาไทยให้อ่านง่าย เพื่อให้พระภิกษุสามเณร พุทธ-
ศาสนิกชน และผู้นสใจทั่วไปเข้าใจเนื้อความพระไตรปิฎก และเป็นคู่มือในการ
ศึกษาพระไตรปิฎกภาษามคธฉบับ มหาจุฬาเตปิฎก ที่นิสิตของมหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จะถือเอาเป็นแนวในการทำความเข้าใจ
พระไตรปิฎกภาษมคธให้แจ้งชัดยิ่งขึ้น จึงได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะ
กรรมการแปล คณะกรรมการตรวจสำนวน คณะกรรมการที่ปรึกษา คณบรรณาธิการ
และคณะบรรณกร ประกอบด้วยพระเถรานุเถระและศาสนบัณฑิตผู้ทรงคุณวุฒิ
มาดำเนินการแปล ทั้งนี้ได้ถวายไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยกราบทูลเชิญ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ การแปล
พระไตรปิฎกภาษาไทยสำเร็จบริบูรณ์ และได้จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๓๙
อนึ่งในการจัดพิมพ์พระไตนปิฎกภาษาไทยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชทิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมในการ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร องค์เอกอัคร
ศาสนูปถัมภกผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เนื่องในการพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ มณฑลท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้
ที่พระราชธานการอุปถัมภ์เป็นมูลฐาน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุน
สำหรับพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎก เมื่อพุทธศักกราช ๒๕๐๐
ซึ่งถือเป็นพระไตรปิฎกฉบับแรกของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีการ
จัดพิมพ์สำเร็จ และพัฒนาไปสู่การชำระจัดพิมพ์อรรถกถาภาษาบาลี แปลและจัด
พิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รวมทั้งคัมภีร์พุทธศาสน์อื่น ๆ ตามมา
ภาพบรรยากาศงานถวาย ตู้พระไตรปิฎก และหนังสือพระไตรปิฎก โดยมีคณะเจ้าภาพหลาย คณะมารวมกัน
อิมินา ธมฺมทานาภาเวน ขออานภาพแห่งบุญกุศลส่วนธรรมวิทยาทานที่ได้พระราชทานจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎก และบุญกุศล
ส่วนอื่น ๆ ที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้ดีแล้วตลอดพระชนมชีพ จงรวมเป็นมหาบุญนิธิ มีอานิสงส์
ภิยโยภาพไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย เสวยทิพยสุขในทิพยวิมาน มีพระเกษมสำราญใน
ดินแดนสุคติภพสมดังเจตนาปรารภของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทรงอุบัติเป็น
มหาเทพผู้ทรงปัญญา ทรงฤทธิ็เดช ทรงพระกรุณา คอยปกป้องคุ้มครองอาณาเขต
ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยให้มีความมั่นคงปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง สงบร่มเย็น
เป็นสุขภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ในกาลทุกเมื่อชั่วนิจนิรันดร์ เทรอญ
จิรํ ติฏฺฐตุ โลกสฺมึ สมฺมาสมฺพุทฺธสาสนํ.ขอพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงอยู่ในโลกสิ้นกาลนาน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.................................................................................................
รายชื่อชุดหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย มีดังนี้เล่ม ๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
อธิบายสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์(กฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ)
๑๙ ข้อแรกซึ่งอยู่ในระดับอาบัติหนักหรือความผิดสถานหนักคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยต
เล่ม ๒ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒
อธิบายสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้อที่เหลือ ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติเบา
หรือความผิดสถานเบา คือ ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จนครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗
เล่ม ๓ พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์
อธิบายสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมด
เล่ม ๔ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ (ระเบียบทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่และการดำเนินกิจการของภิกษุสงฆ์)
ตอนต้น มี ๔ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องกำเนิดภิกษุสงฆ์และการอุปสมบท อุโบสถ จำพรรษาและปวารณา
เล่ม ๕ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนต้น (ต่อ) มี ๖ ขันธกะ (หมวด)
คือ เรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
เล่ม ๖ พระวินัยปิฎก จูฬวรรค ภาค ๑
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย มี ๔ ขันธกะ คือ เรื่อง นิคคหกรรม
วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ พระวินัยปิฎก จูฬวรรค ภาค ๒
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย (ต่อ) มี ๘ ขันธกะ คือ
เรื่องข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์
เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
เล่ม ๘ พระวินัยปิฎก ปริวาร
อธิบายคู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
เล่ม ๙ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สัลขันธวรรค
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร เริ่มด้วย พรหมชาลสูตร (หลายสูตรกล่าวถึง
ความพร้อมด้วยสีลขันธ์ ซึ่งบางทีก็จำแนกเป็นจูลศีลมัชฌิมศีลมหาศีลจึงเรียกว่าสัลขันธวรรค)
เล่ม ๑๐ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย
“มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสมยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฎิกสูตร
หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
เล่ม ๑๒ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร บางสูตรอาจจะคุ้นชื่อ
เช่น ธัมมทายาทสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สติปัฏฐานสูตร รถวินีตสูตร วีมังสกสูตร
เล่ม ๑๓ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร ที่อาจจะคุ้นชื่อ เช่น
เสขปฏิปทาสูตร ชีวกสูตร อุปาลิวาทสูตร รัฏฐปาลสูตร รถวินีตสูตร อังคุลิมาลสูตร
ธัมมเจติยสูตร
เล่ม ๑๔ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร มีเนื้อหาแตกต่างกันหลากหลาย เช่น
เทวทหสูตร อานาปานสติสูตร กายคตาสติสูตร ภัทเทกรัตตสูตร จูฬกัมมวิภังคสูตร
ปุณโณวาทสูตร
เล่ม ๑๕ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อธิบายคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น
เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคล
และสถานที่มี ๑๑ สังยุต
เล่ม ๑๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
อธิบายเหตุและปัจจัย คือ หลักปฏิจจสมุปบาท
นอกนั้นมีเรื่องธาตุการบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
เล่ม ๑๗ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
อธิบายขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิ และทิฏฐิต่างๆ
ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุต
เล่ม ๑๘ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อธิบายอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ
เล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อธิบายโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน
อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น อริยสัจ ฌาน
ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรสุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุต
เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก อันคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร
อธิบายธรรม หมวด ๑ (เช่น จิต, ความไม่ประมาท ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ)
อธิบายธรรมหมวด ๒ (เช่น สุข ๒, บัณฑิต ๒, ฯลฯ) อธิบายหมวด ๓ (เช่น อธิปไตย ๓, สิกขา ๓ ฯลฯ)
เล่ม ๒๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อธิบายธรรม หมวด ๔ (เช่น อริยธรรม หรืออารยธรรม๔, พุทธบริษัท ๔,
ปธาน๔, อคติ ๔, สังคหวัตถุ ๔ ฯลฯ)
เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
อธิบายธรรม หมวด ๕ (เช่น พละ ๕, นิวรณ์ ๕, อภิณหปัจจเวกขณะ ๕, นักรบ ๕ ฯลฯ)
อธิบายธรรม หมวด ๖ (เช่น สาราณียธรรม ๖, อภัพพฐาน ๖, ฯลฯ)
เล่ม ๒๓ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อธิบายธรรม หมวด ๗ (เช่น อริยทรัพย์ ๗ ภรรยา ๗ ฯลฯ)
อธิบายธรรมหมวด ๘ (เช่น โลกธรรม ๘ ทานวัตถุ ๘ สัปปุริสธรรม ๘ ฯลฯ)
อธิบายธรรม หมวด ๙(อาฆาตวัตถุ ๙ นิพพานทันตา ๙ ฯลฯ)
เล่ม ๒๔ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อธิบายธรรม หมวด ๑๐ (เช่น สังโสยชน์ ๑๐ นาถกรณธรรม ๑๐ วัฑฒิธรรม ๑๐ ฯลฯ)
อธิบายธรรมหมวด ๑๑ (เช่น ลักษณะของผู้มีศรัทธา ๑๑ ประการ, อานิสงส์เมตตา ๑๑ ฯลฯ)
เล่ม ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย กล่าวถึงคัมภีร์ ๕ คือ ขุททกปาฐะธัมมบท
อุทาน อิติวุตตกะ และสุตตนิบาท
อธิบาย ๕ คัมภีร์ คือ (๑) ขุททกปาฐะ รวมบทสวดย่อยๆ เช่น มงคลสูตร รตนสูตร (๒) ธัมมบท
มี ๔๒๓ คาถา (๓) อุทาน พระสูตรแสดงคาถาพุทธอุทานร้อยแก้ว ๘๐ เรื่อง (๔) อิติวุตตกะ เชื่อมความเข้าสู่
คาถาด้วยคำว่า “อิติวุจฺจจิ” รวม ๑๑๒ สูตร (๕) สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ คาถาล้วน รวม ๗๑ สูตร
เล่ม ๒๖ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย กล่าวถึง ๔ คัมภีร์ คือ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ
เถรคาถาและเถรีคาถา
อธิบายคัมภีร์ย่อย ซึ่งร้อยกรองคือคาถาล้วน ๔ คัมภีร์ คือ (๑) วิมาน เล่าการทำความของตนในอดีต ๘๕ เรื่อง
(๒) เปตวัตถุ เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง (๓) เถรคาถา คาถาของพระอรหันต์ ๒๖๔ รูป (๔) เถรีคาถา
คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป
เล่ม ๒๗ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
อธิบายบทร้อยกรองคือคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งยังเป็น
พระโพธิสัตว์ในอดีตชาติและมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง
ภาคแรก ตั้งแต่ เอกนิบาต-จัตตาฬีสนิบาต รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อธิบายคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา
ถึงเรื่องมีคาถามากมาย ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา มี ๒๒ เรื่อง
เล่ม ๒๙ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร
ในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏสัมภิทามรรค
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่องญาณ
ทิฏฐิ อานาปานะ อินทรีย์ เป็นต้อนอย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
อธิบายบทประพันธ์ร้อยกรอง (คาถา) แสดงประวัติพระอรหันต์ โดยเฉพาะในอดีตชาติ
เริ่มด้วยพุทธอปทาน ปัจเจกพุทธอปทาน ต่อด้วยเถรอปทาน เริ่มแต่พระสารีบุตร
พระมหาโมคคัลลานะ ฯลฯพระอานนท์ ต่อเรื่อยไป รวม ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
(๑)อธิบายเถรอปทานประวัติพระอรหันต์เถระต่ออีกจนรถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น
เป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม
๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญพระมหาปชาปดีโคตรมี พระเขมาและท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ
(๒) อธิบายพระพุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์พระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์
รวมถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
(๓) อธิบายจริยาปิฎก แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่อง
เล่ม ๓๔ อภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี
อธิบายมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ
เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม
จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรมชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรมชุดหนึ่ง
เป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ มาติกา
เล่ม ๓๕ อภิธรรมปิฎก ภาษาไทย วิภังค์
อธิบายหลักธรรมสำคัญ๐ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่
และวินิจฉัยจนชัดเจรจบไปเป็นเรื่องๆ ๑๘ เรื่อง เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
และ ธาตุ ๑๘ และปุคคลบัญญัติ
เล่ม ๓๖ อภิธรรมปิฎก ธาตุกถา
(๑)อธิบายธาตุกถา คำอธิบายเรื่องธาตุ เป็นคัมภีร์ที่พระผู้มีพระภาคทรง
นำสภาวธรรมแม่บทที่เรียกว่ามาติกาจำนวน ๓๗๑ บท เกี่ยวกับธาตุ ๔
ธาตุ ๖ และธาตุ ๑๘ และ (๒) อธิบายปุคคลบัญญัติกล่าวถึงการ
บัญญัติบุคคลตามคุณธรรมที่มีในบุคคลนั้น จัดเป็นพวกๆ และอธิบายให้เห็นลักษณะอาการ
เล่ม ๓๗ อภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ
อธิบายคัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓
เรียบเรียงขึ้นเพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย
เป็นคำปุจฉาวิสัชนามีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ อภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๑
อธิบายคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
(ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล เกี่ยวกับ
มูล (เช่น กุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย
ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ
เล่ม ๓๙ อภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๒
อธิบายการถามการตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก
ธัมมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
เล่ม ๔๐ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๑ ปัฏฐาน
อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
คือแม่บทหรือบทสรุปธรรม แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกา เล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔
เล่ม ๔๑ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๒
อธิบายอนุโลมติกปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓
ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันนธรรมโดยอารัมมณปัจจัย
(พิจารณารูป เสียง เป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้ว ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๓
อธิบายอนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน
แห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม
โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ ) ดังนี้ เป็นต้น
เล่ม ๔๓ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๔
อธิบายอนุโลมทุกปัฏฐานต่อ
เล่ม ๔๔ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๕
อธิบายอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา
ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
เล่ม ๔๕ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๖
อธิบายปัจจนียปัฏฐาน คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง
แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล
อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัยเป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ
เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน
คือ ปฏิเสธ+อนุโลม
พระวินัยปิฎก คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียม
ประเพณี วิถีชีวิตวิธีการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ พระ
วินัยซึ่งเป็นพุทธบัญญัตินี้ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ อาทิพรหมจริยกาสิกขา
อาทิพรหมจริยสิกขา หมายถึงหลัการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือ
ข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นพุทธอาณา
เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายและวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดโดยปรับอาบัติ
หนักบ้าง เบาบ้าง พระสงฆ์สวดทุกกึ่งเดือน เรียกว่า พระปาติโมกข์ ส่วน
อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึงหลักการอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียนฃมเกี่ยวกับ
มรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงามสำหรับชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของ
พระสงฆ์ให้ดีงาม มีคุณค่า น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้นไป
พระวินันนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า ต่อเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามประพฤติเช่นนั้นอีก ดังจะเห็นได้ว่า ในตอน
ต้นพุทธกาล คือตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ถึงพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แน่นอน เพราะภิกษุล้วนมีวัตตปฏิบัติดีงาม ศีลของภิกษุสงฆ์เรียกว่า
"ปาติโมคขสังวรศีล" จัดเป็นจาริตตศีล คือ ระเบียบปฏิบัติตามแบบอย่างที่พระ
พุทธเจ้าทรงประพฤติปฏิบัติมา ในระยะที่ยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุสงฆ์สวดพระ
ปาฏิโมกทุกกึ่งเดือนใน ๒๐ พรรษาแรกนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมก
เองทุกกึ่งเดือน
ในพรรษาที่ ๑๒ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา พระสารีบุตรกราบทูล
อาราธนาให้ทรงบัญญัติสิกขาบท ดังปรากฏในเวรัญชกันฑ์ คัมภีร์มหาวิภังค์ พระ
วินัยปิฎกเล่ม ๑ ว่า "ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบท ทรงยกปาติโมกขึ้นแสดงแก่พระสาวกอันเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรง
อยู่ได้ยืนนาน" พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท เพราะในระยะนั้นภิกษุสงฆ์
ส่วนใหญ่ เป็นพระอรียบุคคล ดังที่พระองค์ตรัสตอบพระสารีบุตรว่า"จงรอไปก่อนเถิด
สารีบุตร ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้น ศาสดาจะยังไม่บัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกขึ้นตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานยธรรม
ในหมู่สงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานยธรรมขึ้นในหมู่สงฆ์ ตถาคตจึงจะบัญญัติ
สิกขาบท จะยกปาติโมกขึ้นแสดงแก่สาวกเพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น... สารีบุตร
ก็ภิกษุสงฆ์ยังไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ไม่มีสิ่งมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดำรงอยู่ใน
สารคุณ แท้จริง ในภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ผู้มีคุณธรรมอย่างต่ำก็ชั้นโสดาบัน"
ต่อมา หลังจากออกพรรษาที่ ๒๐ (วิ.อ. ๑/๓๑/๒๑๖) แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรง
บัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ห้ามภิกษุเสพเมถุน โดยปรารภเหตุการมัวหมองใน
คณะสงฆ์อันเนื่องมาจากการที่พระสุทินเสพเมถุนกับอดีตภรรยาที่ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทรงบัญญัติเรื่อยมา
ทุกครั้งที่เกิดเหตุการไม่ดีงามขึ้นในคณะสงฆ์
ในการบัญญัติสิกขาบทแต่ละครั้งมีขั้นตอนดังนี้คือ เมื่อเกิดเรื่องมัหมองขึ้น
ภายในคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับ
แล้ว ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น และตรัสอานิสงส์แห่งความสำรวมระวังแล้ว
จึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุทำอย่างนั้นอีกต่อไป ทรงกำหนดโทษสำหรับ
ผู้ฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดเรียกว่า ปรับอาบัติ
คำว่า อาบัติ แปลว่า ต้องการ การล่วงละเมิด คำนี้เป็นชื่อเรียกกิรียาที่ล่วง
ละเมิดสิกขาบทนั้น เช่น ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนต้องอาบัติปาราชิก
อาบัติมี ๗ กองคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต
อาบัติปาราชิกมีโทษหนัก ทำให้ผู้ล่วงละเมิดขาดจากความเป็นภิกษุ อาบัติ
สังฆาทิเสสมีโทษปานกลาง ผู้ล่วงละเมิดต้องอยู่กรรมคือประพฤติวัตรอย่างหนึ่งจึง
จะพ้นจากอาบัตินี้ ส่วนอาบัติที่ ๕ กองที่เหลือมีโทษเบา ผู้ล่วงละเมิดต้องประกาศ
สารภาพผิดต่อหน้าภิกษุด้วยกันดังที่เรียกว่าปรงอาบัติจึงพ้นจากอาบัติเหล่านี้
บทบัญญัติในพระวินัยแต่ละข้าหรือมาตราเรียกว่า สิกขาบท แปลว่าข้อที่ต้อง
ศึกษา นั่นคือ บทบัญญัติสำหรับภิกษุมี ๒๒๗ สิกขาบท บทบัญญัติสำหรับภิกษุณี
มี ๓๑๑ สิกขาบท สิกขาบทเหล่านี้มาในพระปาติโมกข์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติ
ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
บทบัญญัติสำหรับภิกษุ ๒๒๗ สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์แบ่งเป็นกลุ่มได้
ดังนี้ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตีตย์ ๗๒
ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้นปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดไว้ครบทุกอาบัติ
คือระบุอาบัติโดยตรง ๔ กอง ได้แก่ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ทั้งที่เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตย์และสุทธิกปาจิตตีย์ และปาฏิเทสนียะ มีอาบัติที่ไม่ได้ระบุไว้
โดยตรงอีก ๓กอง ได้แก่ ถุลลัจจัย ทุกกฏ ทุพภาสิต
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์เหล่านี้ยกเว้นเสขิยะจัดเป็นอาทิพรหมจริยกาสิกขา
ส่วนเสขิยะและสิกขาบทจำนวนมากที่มานอกพระปาติโมกข์ล้วนเป็นอภิสมาจาริกาสิกขา
จากหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๙
กลุ่มผลิตภัณฑ์
ตู้สำหรับบรรจุหนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มภาษาไทยทองธารา ตู้พระไตรปิฎกไม้สัก ทั้งหลัง สีทอง ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู
สำหรับบรรจุพระไตรปิฎก 45 เล่มไทย
// บาลี // สยามรัฐ // ราคาตู้พระไตรปิฎก 15,500 ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย
ตู้พระไตรปิฎกลงรักปิดทองรุ่นกลอนไม้ขัดสำหรับหนังสือพระไตรปิฎกชุด45เล่มแปลไทย
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทรงตรง สำหรับบรรจุพระไตรปิฎก45เล่มภาษาไทย
ราคา 8500 บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทรงตรง พร้อมประดับจั่วสลักลายดอกไม้ด้านบน
ราคา 9500 บาท
ตู้พระไตรปิฎกทรงสี่เหลี่ยมคางหมู
ลงรักปิดทองประตูกระจก-
ราคา10000บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทั้งหลัง
ทรงสี่เหลี่ยมคางหมูลวดลายทอง
ราคา12000บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทั้งหลังทรงตรง-รุ่นด้านข้างปิดทึบด้วยไม้สัก
ราคา11000บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทรงสี่เหลี่ยมคางหมู
เป็นตู้ไม้สักทั้งหลัง
ราคา 11000 บาท
ตู้พระไตรปิฎกสีเหลืองอัมพันประดับจั่วด้านบน
ประดับกระจกสีทั้งหลัง
ราคา9500บาท
ตู้พระไตรปิฎกสีแดงลวดลายทอง
ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู
ราคา 8500 บาท
ตู้พระไตรปิฎกลงรักปิดทองทั้งหลัง
พร้อมประดับลวดลายทอง
ราคา10,900บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทรงตรงทั้งหลังประดับ
ลวดลายทองปิดกระจกสีทั้งหลัง
ราคา 9500 บาท
ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทรงป้าน แข็งแรงทนทาน
ราคา 11000 บาท
ตู้พระไตรปิฎกทรงป้านสีเหลืองลวดลายทอง
ราคา 8500 บาท
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล 91 เล่มฉบับครบ 200 ปี
แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งหนังสือชุดนี้เป็นพระไตรปิฎก
ฉบับภาษาไทย ทั้งชุดบรรจุอยู่ในกล่องจำนวน 6 กล่อง
ที่ดำเนินการจัดส่งทั่วประเทศโดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
ในราคามูลนิธิของมหามกุฏราชวิทยาลัย ยังไม่รวมค่าจัดส่ง 25,000 บาท
หนังสือพระไตรปิฎกชุด45เล่มภาษาไทย โดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หนังสือชุดนี้ เป็นหนังสือฉบับภาษาไทย ทั้งชุด 45 เล่ม
แปลจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม ครบทั้งชุด
ซึ่งจัดส่งโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
และเป็นหนังสือธรรมะศึกษา สำหรับ
พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปที่ใคร่ศึกษา
หลักพระธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ในราคามูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 15,000.- บาท
ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย45เล่ม(ปกใหม่)
#หน้าปกสีเหลือง จัดพิมพ์จำนวนจัดกัดเพียง 1000 ชุด
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
ในวาระพิมพ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
: จัดส่งทั่วไทย โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
: #จัดพิมพ์จำนวนจำกัด1000ชุด #LINE : @trilakbooks
โทร 087-696-7771, 086-461-8505
พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย พร้อมอรรถกถาแปล จำนวน 100 เล่ม
หนังสือชุดนี้เป็นหนังสือพระไตรปิฎกฉบับ ส.ธรรมภักดี
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ในหมู่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎก และยังเป็นหนังสือชุดนี้
เอาไว้สำหรับเทียบเคียงพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ
เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการศึกษาหลักธรรมใน
พระพุทธศาสนาในภาษาฆราวาส ได้อย่างเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ราคาหนังสือชุดนี้ ปัจจุบัน 18,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มฉบับภาษาบาลี
ทีเป็นหนังสือชุดแรกที่เผยแพร่ในประเทศไทยในลักษณะรูปเล่ม
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายในหนังสือชุดนี้
เป็นพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ตัวอักษรไทย ปัจจุบันหนังสือชุดนี้ราคา 13,000 บาท
ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือชุดอรรถกถาภาษาไทย จำนวน 55 เล่ม ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 20000 บาท
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ชุดหนังสือ-ถวายพระสงฆ์-ชุดหลักแห่งพระพุทธศาสนา-3610-บาท
รายละเอียดหนังสือพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า1. พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า 1 ชุด มีทั้งหมด 40 เล่ม
(พระวินัยปิฎก เล่ม 1-9 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10-33 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 34-40)
2. ขนาดหนังสือพระไตรปิฎกเท่ากระดาษ A4 พับครึ่ง ปก 4 สี อาบมัน
ปั๊มนูนอาบสปอต พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตาเกรด A อ่านสบายตา
3. กล่องบรรจุพระไตรปิฎกทำด้วยกระดาษแข็งอย่างดี ทนทาน
จัดเข้าชั้นหนังสือได้ทันที ไม่ต้องหาตู้ใส่พระไตรปิฎกแยกต่างหากต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “ชวนชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎก”
เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยการอ่านพระไตรปิฏกฉบับกระเป๋า วันละ 5 หน้า
เป็นอย่างน้อย โดยตั้งมโนปณิธานอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า
ชาตินี้จะอ่านพระไตรปิฎกให้จบสัก 1 รอบเป็นอย่างน้อยให้สมกับที่ได้
เกิดมาเป็นชาวพุทธพบพุทธศาสนา เชิญท่านสั่งซื้อพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
เพื่อเอาไว้อ่านในครอบครัวของท่านเอง เพื่อถวายวัดถวายพระภิกษุสงฆ์
มอบให้โรงเรียน มอบให้ห้องสมุดต่าง ๆ
หรือมอบเป็นธรรมบรรณาการแด่บุคคลที่เคารพนับถือ
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
คัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับภาษาบาลี เป็นผลงานรจนาของพระพุทธโฆสะเถระ
นักปราชญ์ชาวอินเดีย รจนาขึ้น เมื่อ พุทธศักราช 956 ในคณะสงฆ์คณะมหาวิหาร
ณ กรุงอนุราธปุระประพเทศลังกา (ศรีลังกา)สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับแปลเป็นภาษาไทยฉบับนี้
เป็นผลงานแปลและเรียบเรียงโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทฒาจารย์ (อาจ อาสภเถร)
อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมของท่านผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าหลักธรรมและปฏิบัติธรรมทั่วไป
ให้การยอมรับว่าเป็ฯสำนวนการแปลที่อ่านเข้าใจง่าย
การแปลและเรียบเรียงคำนึงถึงผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาบาลีน้อยจะอ่านเข้าใจยากเป็นความสำคัญ
จึงได้นำข้อความบางส่วนในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสามหาฎีกามาขยาย
เสริมความทำให้อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และ พระเขมินทเถระ
พิมพ์เผยแพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จำนวน 538 หน้า // ขนาด 16*21.5 เซนติเมตร // ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
หมายเลข ISBN : 978-616-300-339-3
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1949383/วิมุตติมรรค-ทางแห่งความหลุดพ้น-ราคาเล่มละ300บาท.html
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 300 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 80 บาท ต่อ 1 เล่ม
**หากสั่งให้ส่งจำนวนหลายเล่ม ศูนย์จัดส่งจะประมวลค่าจัดส่งให้ใหม่
ในราคาบริษัทขนส่งเอ็กเพรส ทั่วไทย ในราคาที่ถูก ตาม ที่อยู่ที่ให้จัดส่ง ของลูกค้าต่อไปฯ**
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
ชุดหนังสือ วิสุทธิมรรค-และ-วิมุตติมรรค-900บาท
เป็นหนังสือที่มีความเกี่ยวเนื่องล้อกันอยู่ถึงแม้จะถูกรจนาขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
จำนวน 2 เล่ม นี้จึงเป็นที่นิยมใช้ และนำไปเป็นหลักอ้างอิงเชิงพระพุทธศึกษาในวงกว้าง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 900 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 250 บาท ต่อ 1ชุด
รวมเป็นชุดละ 1150 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1961522/ชุดหนังสือวิมุตติมรรค-และ-คัมภีร์วิสุทธิมรรค-900บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
เดิม ย่อจากพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มเป็นภาษาไทย ๕ เล่ม แล้วรวม ๕ เล่ม
นั้นพิมพ์ให้เป็นเล่มเดียวเพื่อมิให้กระจัดกระจาย
และสรุปความให้เหลือเพียบ 1 เล่ม เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และให้เป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการ
เพื่อให้เป็นหนังสือที่ต่อยอดในการศึกษาพระไตรปิฎกฉบับเต็ม ต่อไป ในราคามูลนิธิ 500 บาท
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่
หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
จำนวน 1360 หน้า
จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้ ที่
http://www.trilakbooks.com/product/275612/หนังสือพุทธธรรม-700บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
Tags : พระไตรปิฎกภาษาไทย , หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย , ราคาหนังสือพระไตรปิฎก , ซื้อหนังสือพระไตรปิฎก , จำหน่ายหนังสือพระไตรปิฎก
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พระไตรปิฎกภาษาไทย-ฉบับมหา... ราคา 15,000.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,611ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,472 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,012ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,938 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,154ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,693 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,080พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,720 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,011คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,487 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,567พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,888 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,476พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 14,046 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,152นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,588