สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,422,038 |
เปิดเพจ | 17,076,792 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ชุดธรรมโฆษณ์ของหลวงพ่อพุทธทาส
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
1แถบน้ำตาล
-
เข้าชม
9,441 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
13/11/2024 16:42
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาสเรื่อง พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ -ธรรมโฆษณ์
หนังสือ พุทธประวัติจากพระประวัติของหลวงพ่อพุทธทาส
นำเสนอเรื่องราวชีวิตและพระประวัติของพระพุทธเจ้า
ผ่านการตีความและการเล่าของหลวงพ่อพุทธทาส เนื้อหาจะเริ่มจากช่วง
ที่พระพุทธเจ้าเกิด ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพาน โดยเน้นให้เห็นถึงคำสอนและปรัชญาที่ลึกซึ้ง
ซึ่งแทรกไว้ในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
อย่างเป็นรูปธรรม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาพุทธประวัติในมุมมองที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งหนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เป็นหนึ่งในสุดยอดผลงานของท่านพุทธทาส
ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตและพระประวัติของพระพุทธเจ้า
โดยเน้นการแสดงธรรมะล้วน ๆ ผ่านข้อมูลที่ท่านพุทธทาส
ได้เลือกเก็บจากพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ท่านใช้เวลาถึง 22 ปี
ในการรวบรวมและเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ โดยยึดหลักการนำเสนอ
คำตรัสของพระพุทธเจ้าโดยตรง โดยไม่มีการเพิ่มเติมจากคำบอก
เล่าของผู้อื่น ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงคำสอนแท้จริงของพระพุทธศาสนา
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาพุทธประวัติผ่านมุมมองที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งโดยทั่วไป หนังสือพุทธประวัติสามารถแบ่งออกเป็นสามแนวหลัก คือ:
- แนวที่มุ่งให้เกิดศรัทธา – เน้นการนำเสนอปาฏิหาริย์หรือ
อภินิหารของพระพุทธเจ้า เพื่อดึงดูดให้คนทั่วไปเกิดความเลื่อมใส
เนื้อหามักไม่ได้มุ่งเจาะจงไปที่นักศึกษา - แนวตำนานหรือประวัติศาสตร์ – มุ่งแสดงพุทธประวัติใน
เชิงประวัติศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งตอบสนองความสนใจ
ของนักศึกษาในปัจจุบัน โดยเน้นความเป็นจริงและหลักฐาน
เชิงประวัติศาสตร์ - แนวธรรมะล้วน ๆ – เน้นแสดงข้อธรรมะที่ปรากฏอยู่ใน
พระกิริยาของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแบบอย่างทางการปฏิบัติ
แก่ผู้ที่ต้องการดำเนินตามคำสอน
หนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ จัดอยู่ในกลุ่มที่สาม
คือการแสดงธรรมะโดยตรง นำเสนอข้อธรรมะผ่านพระกิริยา
ของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติ
ตามคำสอนของพระองค์จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 704 หน้า
ราคา 350 บาท
+จัดส่งทั่วไทย 120 บาท***บริการจัดส่งทั่วประเทศ ***--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ดำเนินการจัดส่ง หนังสือธรรมโฆษณ์
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
วิธีการสั่งซื้อ ช่องทางติดต่อ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงินแคปภาพ ผลิตภัณฑ์ และ แจ้งที่อยู่จัดส่ง
หรือสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติม
แล้ว ส่งมาที่ LINE @
สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooksท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 087-696-7771
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ
--- --- --- --- --- --- ---
ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ลำดับเรื่อง
ในพุทธประวัติจากพระโอษฐ์
หน้า
คำปรารภ (๑)
อักษรย่อชื่อคัมภีร์ (๖)
คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่ เก้า (๗)
คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่ หนึ่ง (๘)
คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่ สอง (๑๑)
คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่ สาม (๒๒)
คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่ หก (๒๓)
วิธีใช้หนังสือเล่มนี้ ๑
ภาคนำ
ข้อความให้เกิดความสนใจในพุทธประวัติ (๑๒ เรื่อง)
โลกธาตุหนึ่ง ๆ มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว (พ.ม.) ๗
การปรากฎของพระตถาคตมีได้ยากในโลก (พ.ม.อ.) ๘
โลกที่กำลังมัวเมา ก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต (พ.ม.) ๘
การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก คือความสุขของโลก (พ.ม.) ๙
พระตถาคตเกิดขึ้นเพื่อความสุขของโลก (พ.ม.)๑๐
พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก เพื่อแสดงแบบแห่งการครองชีวิต-
-อันประเสริฐแก่โลก (พ.ม.)๑๑
พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรมเพื่อความรำงับ, ดับ, รู้ (พ.ม.)๑๒
ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก (พ.ม.ส.)๑๒
ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน (พ.ม.)๑๓
(๑)
(๒)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธะ" ๑๓
เรื่องย่อ ๆ ที่ควรทราบก่อน ๑๕
เรื่องสั้น ๆ ที่ควรทราบก่อน (อีกหมวดหนึ่ง) (พ.ม.อ.)๑๖
ภาค ๑
เริ่มแต่การเกิดแห่งสากยวงศ์ จนถึงออกผนวช (๒๑ เรื่อง)
การเกิดแห่งวงศ์สากยะ ๒๑
พวกสากยะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าโกศล ๒๒
แดนสากยะขึ้นอยู่ในแคว้นโกศล ๒๓
การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต (พ.ม.) ๒๓
การเกิดในดุสิต ๒๓
การดำรงอยู่ในดุสิต ๒๔
การดำรงอยู่ตลอดอายุในดุสิต ๒๔
การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ (พ.ม.) ๒๔
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการจุติจากดุสิต (พ.ม.) ๒๕
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการจุติ (พ.ม.) ๒๖
การลงสู่ครรภ์ (พ.ม.) ๒๖
การอยู่ในครรภ์ (พ.ม.) ๒๖
มารดามีศีล ๒๗
มารดาไม่มีจิตในทางกามารมณ์ ๒๗
มารดามีลาภ ๒๗
มารดาไม่มีโรค, เห็นโพธิสัตว์ ๒๗
มารดาอุ้มครรภ์เต็มสิบเดือน ๒๘
(๓) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
การประสูติ (พ.ม.) ๒๘
ยืนคลอด ๒๘
เทวดารับก่อน ๒๘
เทพบุตรทั้งสี่รับมาถวาย ๒๘
ไม่เปื้อนมลทินครรภ์ ๒๘
ท่อธารจากอากาศ ๒๙
การเปล่งอาสภิวาจา ๒๙
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการประสูติ (พ.ม.) ๓๐
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการประสูติ (พ.ม.) ๓๐
ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ๓๑
บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ๓๓
ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต ๔๐
ทรงได้รับการบำเรอในราชสำนัก ๔๐
กามสุข กับ ความหน่าย ๔๒
ทรงหลงกาม และ หลุดจากกาม ๔๔
ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช (พ.ม.) ๔๔
การออกผนวช ๔๗
ออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙ ๔๗
ภาค ๒
เริ่มแต่ออกผนวชแล้ว จนถึง ได้ตรัสรู้ (๓๕ เรื่อง)
เสด็จไปสำนักอาฬารดาบส ๕๑
เสด็จไปสำนักอุทกดาบส ๕๓
(๔)
ลำดับเรื่อง
หน้า
เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม ๕๕
ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค ๕๖
อุปมาปรากฎแจ่มแจ้ง ๖๑
ทุกรกิริยา ๖๓
ทรงแน่พระทัยว่า ไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา (พ.ม.ส.) ๖๗
ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ ๖๘
ภิกษุปัญจวัคคีย์หลีก ๖๙
ทรงตริตรึกเพื่อตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ ๖๙
ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ ๗๐
ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้ ๗๑
ทรงกำหนดสามาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ ๗๕
ทรงคอยกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้ ๘๐
ทรงคิดค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้ ๘๑
ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ฯลฯ ก่อนตรัสรู้ ๘๒
ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้ (พ.ม.ส.) ๘๓
ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ฯลฯ ก่อนตรัสรู้ ๘๕
ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ ๘๖
ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ (อีกนัยหนึ่ง) ก่อนตรัสรู้ (พ.ม.ส.) ๘๙
ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ ก่อนตรัสรู้ ๙๓
ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้ ๙๕
ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้ ๙๗
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ (พ.ม.) ๙๘
(๕) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงพยายามในเนกขัมมจิต และ-
-อนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้ (พ.ม.อ.) ๑๐๓
ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้ ๑๑๒
ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้ ๑๑๓
อาการแห่งการตรัสรู้ ๑๑๕
สิ่งที่ตรัสรู้ ๑๑๗
การตรัสรู้ คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต (พ.ม.ส.) ๑๒๑
การตรัสรู้ คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า (พ.ม.ส.) ๑๒๒
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้ ๑๒๓
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการตรัสรู้ (พ.ม.) ๑๒๔
การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว ๑๒๔
วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ (พ.ม.ส.) ๑๒๕
ภาค ๓
เริ่มแต่ได้ตรัสรู้แล้ว จนถึง โปรดปัญจวัคคีย์ (๗๙ เรื่อง)
ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด ๑๓๓
ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้ ๑๓๔
ทรงมีตถาคตพลญาณ สิบ ๑๓๕
ทรงมีตถาคตพล ห้า (พ.ม.ส.) ๑๓๗
ทรงทราบอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์ (พ.ม.ส.) ๑๓๗
ทรงมีและทรงแสดงยถาภูตญาณที่ทำให้แจ้งอธิมุตติบท ท. (พ.ม.ส.) ๑๔๐
ทรงมีเวสารัชชญาณ สี่ ๑๔๑
(๖)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงประกาศพรหมจักรท่ามกลางบริษัท (พ.ม.ส.) ๑๔๒
ทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว (พ.ม.) ๑๔๔
ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือน ๑๔๖
ทรงเปรียบการกระทำของพระองค์ ด้วยการกระทำของสีหะ (พ.ม.ส.) ๑๔๗
ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ ๑๔๘
สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้ ๑๕๐
ไม่มีความลับ ที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด (พ.ม.) ๑๕๑
ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์ (พ.ม.ส.) ๑๕๒
ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก (พ.ม.) ๑๕๓
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา ๑๕๓
ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด ๑๕๕
ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน (พ.ม.) ๑๕๕
ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลก ไม่มีใครยิ่งกว่า (พ.ม.) ๑๕๖
ทรงอยู่เหนือการครอบงำของเวทนา มาตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้ (พ.ม.ส.) ๑๕๗
ทรงยืนยันในคุณธรรมของพระองค์เองได้ ๑๖๒
ทรงยืนยันให้ทดสอบความเป็นสัมมาสัมพุทธะของพระองค์ (พ.ม.ส.) ๑๖๓
ทรงยืนยันว่าไม่ได้บริสุทธิ์เพราะตบะอื่น นอกจากอริยมรรค (พ.ม.ส.) ๑๖๗
ทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสุทธิ์เต็มที่ (พ.ม.) ๑๖๘
ทรงยืนยันว่าตรัสเฉพาะเรื่องที่ทรงแจ่มแจ้งแทงตลอดแล้วเท่านั้น (พ.ม.ส.) ๑๗๒
สิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป ๑๗๓
ทรงฉลาดในเรื่องซึ่งพ้นวิสัยโลก (พ.ม.) ๑๗๔
(๗) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม (พ.ม.ส.) ๑๗๔
ทรงทราบทิฏธิวัตถุ ที่ลึกซึ้ง หกสิบสอง ๑๗๕
ทรงทราบส่วนสุดและมัชฌิมา ๑๘๐
ทรงรับรองสุขัลลิกานุโยคที่เป็นไปเพื่อนิพพาน ของพวกสมณ-
-ศากยปุตติยะ (พ.ม.ส.) ๑๘๒
ทรงทราบพราหมณสัจจ์ (พ.ม.) ๑๘๓
ทรงเห็นนรกและสวรรค์ ที่ผัสสายตนะหก (พ.ม.ส.) ๑๘๕
ทรงทราบพรหมโลก ๑๘๖
ทรงทราบคติห้า และนิพพาน ๑๘๘
ทรงแสดงฤทธิ์ได้ เพราะอิทธิบาทสี่ ๑๘๙
ทรงมีญาณในอิทธิบาทสี่ โดยปริวัฏฏ์ ๓ อาการ ๑๒ (พ.ม.ส.) ๑๙๑
ทรงมีอิทธิบาทเพื่ออยู่ได้ถึงกัปป์ (พ.ม.) ๑๙๓
ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอดทุกโลกธาตุ (พ.ม.) ๑๙๓
ทรงมีปาฏิหาริย์ชนิดที่คนเขลามองไม่เห็นว่าเป็นปาฏิหาริย์ (พ.ม.ส.) ๑๙๔
ทรงมีปาฏิหาริย์ สาม ๑๙๗
เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า "ตถาคต" สี่ ๑๙๘
เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า "ตถาคต" เพราะทรงเป็นกาลวาที ภูตวาที (พ.ม.ส.) ๒๐๐
ไวพจน์แห่งคำว่า "ตถาคต) (พ.ม.ส.) ๒๐๑
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงชำนาญใน-
-อนุปุพพวิหารสมาบัติ (พ.ม.อ.) ๒๐๒
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงทราบปัญจุปาทานขันธ์-
-โดยปริวัฏฏ์สี่ (พ.ม.ส.) ๒๐๓
(๘)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อทรงทราบอริยสัจจ์หมดจดสิ้นเชิง ๒๐๔
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ" (พ.ม.ส.) ๒๐๕
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ" (อีกนัยหนึ่ง) (พ.ม.ส.) ๒๐๖
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อรหันตสัมมาสัมพุทธะ" (อีกนัยหนึ่ง) (พ.ม.ส.) ๒๐๗
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "อนุตตรปุริสทัมมสารถิ" (พ.ม.ส.) ๒๐๘
เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า "โยคักเขมี" (พ.ม.ส.) ๒๐๙
ทรงเป็นศาสดาประเภทตรัสรู้เอง (พ.ม.ส.) ๒๑๐
ไม่ทรงเป็นสัพพัญญูทุกอิริยาบถ ๒๑๑
ทรงยืนยันความเป็นมหาบุรุษ (พ.ม.) ๒๑๒
ทรงอยู่ในฐานะที่ใครๆ ยอมรับว่าเลิศกว่าสรรพสัตว์ (พ.ม.ส.) ๒๑๔
ไม่มีใครเปรียบเสมอ (พ.ม.) ๒๑๕
ไม่ทรงอภิวาทผู้ใด ๒๑๕
ทรงเป็นธรรมราชา (พ.ม.) ๒๑๖
ทรงเป็นธรรมราชาที่เคารพธรรม ๒๑๖
ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ๒๑๗
ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ๒๑๙
มารทูลให้นิพพาน ๒๒๐
ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม ๒๒๑
พรหมอาราธนา ๒๒๒
ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า ๒๒๓
ทรงแสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก (พ.ม.) ๒๒๔
ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ๒๒๕
(๙) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา ๒๒๖
เสด็จพาราณสี-พบอุปกาชีวก ๒๒๗
การแสดงปฐมเทศนา ๒๒๙
ทรงประกาศธรรมจักรที่อิสิปตนมฤคทายวัน ๒๓๓
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร (พ.ม.) ๒๓๔
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการแสดงธรรมจักร ๒๓๔
จักรของพระองค์ไม่มีใครต้านทานได้ (พ.ม.) ๒๓๕
ทรงหมุนแต่จักรที่มีธรรมราชา เป็นเจ้าของ (พ.ม.) ๒๓๖
การปรากฎของพระองค์-
-คือการปรากฎแห่งดวงตาอันใหญ่หลวงของโลก (พ.ม.) ๒๓๗
โลกยังไม่มีแสงสว่าง จนกว่าพระองค์จะเกิดขึ้น (พ.ม.ส.) ๒๓๘
ภาค ๔
เริ่มแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว จนถึง จวนจะปรินิพพาน (๑๗๐ เรื่อง)
ก. เกี่ยวกับการประกาศพระศาสนา ๔๘ เรื่อง คือ:-
การประกาศพระศาสนา ๒๔๓
หลักที่ทรงใช้ในการตรัส ๒๔๔
ทรงมีหลักเกณฑ์ในการกล่าวผิดจากหลักเกณฑ์ของคนทั่วไป (พ.ม.ส.) ๒๔๕
อาการที่ทรงแสดงธรรม ๒๔๖
สมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรม (พ.ม.ส.) ๒๔๖
(๑๐)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง : เกี่ยวกับ-
-"กามสุขัลลิกานุโยค" หรือ "อัตตกิลมถานุโยค" (พ.ม.ส.) ๒๔๗
: เกี่ยวกับ "มี" หรือ "ไม่มี" (พ.ม.ส.) ๒๔๘
: เกี่ยวกับ "ผู้นั้น" หรือ "ผู้อื่น" (พ.ม.ส.) ๒๔๘
: เกี่ยวกับ "ทำเอง" หรือ "ผู้อื่นทำ" (พ.ม.ส.) ๒๔๙
: เกี่ยวกับ "ทำเอง" หรือ "ผู้อื่นทำ" (อีกนัยหนึ่ง) (พ.ม.ส.) ๒๕๐
: เกี่ยวกับ "อย่างใดอย่างหนึ่ง" หรือ "อย่างอื่น" (พ.ม.ส.) ๒๕๑
: เกี่ยวกับ "เหมือนกัน" หรือ "ต่างกัน" (พ.ม.ส.) ๒๕๒
ไม่ทรงบัญญัติอะไรเป็นอะไร โดยส่วนเดียว (พ.ม.ส.) ๒๕๓
ทรงแสดงทั้งเอกังสิกธรรมและอเนกังสิกธรรม (พ.ม.ส.) ๒๕๕
ทรงแสดงธรรมด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง (พ.ม.) ๒๕๖
ทรงแสดงธรรมเพื่อปล่อยวางธรรม มิใช่เพื่อยึดถือ (พ.ม.ส.) ๒๕๗
อาการที่ทรงบัญญัติวินัย (พ.ม.) ๒๕๘
เหตุผลที่ทำให้ทรงบัญญัติระบบวินัย (พ.ม.ส.) ๒๕๙
หัวใจพระธรรมในคำ "บริภาส" ของพระองค์ (พ.ม.) ๒๖๑
ทรงแสดงหลักพระศาสนา ไม่มีวิญญาณที่เวียนว่ายตายเกิด (พ.ม.ส.) ๒๖๓
ทรงแสดงหลักกรรมชนิดที่เป็น "พุทธศาสนาแท้" (พ.ม.ส.) ๒๖๕
ทรงเป็นยาม เฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์ (พ.ม.อ.) ๒๖๗
ทรงปล่อยปวงสัตว์ เหมือนการปล่อยฝูงเนื้อ (พ.ม.ส.) ๒๖๘
ทรงจัดพระองค์เองในฐานะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องหนทาง (พ.ม.ส.) ๒๗๐
ทรงสอนเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทั้งปวง ๒๗๑
ทรงเป็นศาสดาที่ไม่มีใครท้วงติงได้ (พ.ม.ส.) ๒๗๒
d00102
(๑๑) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงสามารถในการสอน ๒๗๓
ทรงแสดงสติปัฏฐานสี่ เพื่อขจัดทิฏฐินิสสัยทั้งสองประเภท (พ.ม.ส.) ๒๗๔
ทรงสามารถสอนให้วิญญูชนรู้ได้เองเห็นได้เอง (พ.ม.ส.) ๒๗๕
ทรงสามารถยิ่งในการสอน ๒๗๖
ทรงประกาศพรหมจรรย์ ในลักษณะที่เทวดามนุษย์ประกาศตามได้ (พ.ม.ส.) ๒๗๘
ทรงประกาศพรหมจรรย์ น่าดื่มเหมือนมัณฑะ (พ.ม.ส.) ๒๗๙
ทรงแสดงหนทางที่ผู้ปฏิบัติตามแล้ว จะเห็นได้เองว่าถูกต้อง (พ.ม.ส.) ๒๘๑
ทรงแสดงวากขาตธรรม ที่มีผล ๖ อันดับ (มีสวรรค์-
-เป็นอย่างต่ำสุด) (พ.ม.ส.) ๒๘๑
สิ่งที่ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ทรงนำมาสอนมีมากกว่าที่ทรงสอนมากนัก (พ.ม.) ๒๘๔
คำของพระองค์ตรงเป็นอันเดียวกันหมด (พ.ม.อ.) ๒๘๕
ทรงมีการกล่าวที่ไม่ขัดแย้งกับบัณฑิตชนในโลก (พ.ม.ส.) ๒๘๕
ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์กับความดับสนิทของทุกข์ (พ.ม.) ๒๘๖
คำสอนที่ทรงสั่งสอนมากที่สุด (พ.ม.ส.) ๒๘๗
ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ (พ.ม.) ๒๘๘
ทรงฝึกสาวกเป็นลำดับๆ ๒๙๑
เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ ๒๙๗
ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฏฐิ สิบ ๒๙๙
ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตถาหิกทิฏฐิ ส่วนที่เกี่ยวกับ "ตถาคตสี่" (พ.ม.ส.) ๓๐๑
ตรัสเหตุที่ทำให้ไม่ทรงข้องแวะด้วยทิฏฐิ สิบ (พ.ม.ส.) ๓๐๒
เรื่องที่ทรงพยากรณ์ ๓๐๓
(๑๒)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ผู้ฟังพอใจคำพยากรณ์ของพระองค์ ๓๐๓
ไม่ได้ทรงพยากรณ์เพื่อให้ชอบใจผู้ฟัง ๓๐๔
คำพยากรณ์นั้น ๆ ไม่ต้องทรงคิดไว้ก่อน (พ.ม.) ๓๐๕
ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก (พ.ม.) ๓๐๖
เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ ๓๐๘
ทรงบัญญัติโลกุตตรธรรมสำหรับคนทั่วไป (พ.ม.) ๓๑๐
ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา (พ.ม.ส.) ๓๑๔
สัตว์โลกจะรู้จักพระรัตนตรัยถึงที่สุด ก็ต่อเมื่อรู้ผลแห่ง-
-ความสิ้นอาสวะของตนเองแล้วเท่านั้น (พ.ม.ส.) ๓๑๕
ข.เกี่ยวกับคณะสาวกของพระองค์ ๓๐ เรื่อง คือ:-
ทรงมีหมู่คณะที่เลิศกว่าหมู่คณะใด (พ.ม.ส.) ๓๑๙
ทรงมีคณะสงฆ์ซึ่งมีคุณธรรมสูงสุด (พ.ม.ส.) ๓๑๙
ในแต่ละบริษัท มีอริยสาวกเต็มทุกขั้นตนตามที่ควรจะมี (พ.ม.ส.) ๓๒๑
ทรงบริหารสงฆ์จำนวนร้อย ๓๒๓
วิธีที่ทรงปฏิบัติต่อภิกษุ เกี่ยวกับสิกขา (พ.ม.ส.) ๓๒๔
ทรงรับรองภิกษุแต่บางรูป ว่าเป็น คนของพระองค์ (พ.ม.) ๓๒๕
ทรงมีศิษย์ทั้งที่ดื้อและไม่ดื้อ ๓๒๖
ทรงเรียกร้องให้กระทำกะพระองค์อย่างมิตร (พ.ม.ส.) ๓๒๖
สาวกของพระองค์หลุดพ้น-
-เพราะพิจารณาความเป็นอนัตตาในเบญจขันธ์ (พ.ม.) + (พ.ม.ส.) ๓๒๘
สาวกของพระองค์เสียชีพไม่เสียศีล (พ.ม.) ๓๓๐
(๑๓) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ตรัสให้สาวกติดตามฟังแต่เรื่องเป็นไปเพื่อนิพพาน (พ.ม.ส.) ๓๓๐
ทรงขอให้สาวกเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาท (พ.ม.) ๓๓๑
ทรงชักชวนให้สาวกกระทำดั่งที่เคยทรงกระทำ (พ.ม.ส.) ๓๓๒
ทรงขอร้องอย่าให้วิวาทกันเพราะธรรมที่ทรงแสดง (พ.ม.ส.) ๓๓๓
ทรงขอร้องให้ทำความเพียร เพื่ออนุตตรวิมุตติ (พ.ม.ส.) ๓๓๔
ทรงถือว่าภิกษุสาวกทุกวรรณะ เป็นสมณสากยปุตติยะโดยเสมอกัน (พ.ม.) ๓๓๕
ทรงให้ถือว่า สาวกทั้งหลายเป็นบุตรของพระองค์ (พ.ม.ส.) ๓๓๖
ทรงแสดงสาวกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในอินทรียภาวนา (พ.ม.ส.) ๓๓๖
ทรงมีคณะสาวกซึ่งมีปาฏิหาริย์ (พ.ม.) ๓๓๘
ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวกชั่วระยะจำเป็น (พ.ม.) ๓๔๐
ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้รองลำดับ ๓๔๐
ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้ประกาศธรรมจักรเสมอด้วยพระองค์ (พ.ม.) ๓๔๑
ทรงยกย่องพระสารีบุตรในฐานะธรรมโอรส (พ.ม.ส.) ๓๔๒
มหาเถระผู้มีสมาบัติ และ อภิญญาเทียมพระองค์ ๓๔๔
พระองค์และสาวกมีการกล่าวหลักธรรมตรงกันเสมอ (พ.ม.ส.) ๓๔๕
ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์ ๓๔๖
ทรงลดพระองค์ลงเสมอสาวก แม้ในหน้าที่ของพระพุทธเจ้า (พ.ม.ส.) ๓๔๘
เหตุที่ทำให้มีผู้มาเป็นสาวกของพระองค์ ๓๔๙
เหตุที่ทำให้เกิดการแสดงปาติโมกข์ (พ.ม.ส.) ๓๕๑
ไม่ทรงทำอุโบสถ กับสาวกอีกต่อไป (พ.ม.) ๓๕๑
(๑๔)
ลำดับเรื่อง
หน้า
ค. เกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนพระองค์เอง ๓๑ เรื่อง คือ:-
ไม่ทรงติดทายก ๓๕๒
ความรู้สึกของพระองค์เกี่ยวกับยศ (พ.ม.ส.) ๓๕๓
ทรงเสพเสนาสนะป่าเรื่อยไป เพื่อให้เป็นตัวอย่าง (พ.ม.) ๓๕๕
ทรงพอพระทัยความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง (พ.ม.) ๓๕๕
ทรงมีความสุขยิ่งกว่ามหาราชา (พ.ม.) ๓๕๖
ทรงผาสุกยิ่งนัก เมื่อทรงอยู่ในอนิมิตตเจโตสมาธิ (พ.ม.ส.) ๓๕๘
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา และทรงสรรเสริญมาก (พ.ม.ส.) ๓๕๙
ทรงมีอาหารบริสุทธิ์ แม้เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ (พ.ม.ส.) ๓๖๐
ไม่ทรงฉันอาหารที่เกิดขึ้นเพราะคำขับ (พ.ม.ส.) ๓๖๑
ทรงฉันอาหารวันหนึ่งหนเดียว ๓๖๒
ทรงฉันอาหารหมดบาตร ก็มี ๓๖๓
บางคราวทรงมีปีติเป็นภักษา เหมือนพวกอาภัสสรเทพ (พ.ม.ส.) ๓๖๓
ทรงมีการประทมอย่างตถาคต ๓๖๔
ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่าง่ไม่เห็นแก่หน้า (พ.ม.ส.) ๓๖๕
ทรงมีลักษณะเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลับและตื่น (พ.ม.ส.) ๓๖๗
ทรงมีลักษณะสัมมาสัมพุทธะ ทั้งในขณะทำและไม่ทำหน้าที่ (พ.ม.ส.) ๓๖๘
ตัวอย่างเพียงส่วนน้อยของความสุข ๓๗๐
ทรงนับพระองค์ว่าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้นอนเป็นสุข ๓๗๐
ทรงดับเย็นเพราะไม่ทรงยึดมั่นการรู้สิ่งที่สมมติกันว่าเลิศ (พ.ม.ส.) ๓๗๒
ที่ประทับนั่งนอนของพระองค์ ๓๗๒
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ตลอดพระชนม์ (พ.ม.ส.) ๓๗๕
(๑๕) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร แม้ในขณะแห่งธรรมกถา (พ.ม.ส.) ๓๗๖
ทรงเป็นสมณะสุขุมาลในบรรดาสมณะทั้งหลาย (พ.ม.) ๓๗๗
ทรงอยู่อย่างมีจิตที่ปราศจาก "หัวคันนา" (พ.ม.ส.) ๓๗๙
ทรงทำนาที่มีอมตะเป็นผล ๓๗๙
ทรงหลีกเร้นเป็นพิเศษบางคราว ๓๘๑
ยังทรงมากอยู่ด้วยเขมวิตกและวิเวกวิตก (พ.ม.ส.) ๓๘๑
การเสด็จสุทธาวาส (พ.ม.อ.) ๓๘๓
การเสด็จไปทรมานพกพรหมผู้กระด้างด้วยลัทธิ (พ.ม.ส.) ๓๘๔
ทรงมีฌานแน่วแน่ชั้นพิเศษ ๓๘๖
กัลยาณมิตรของพระองค์เอง ๓๘๗
ง. เกี่ยวกับลัทธิอื่น ๆ ๑๖ เรื่อง คือ:-
พอดวงอาทิตย์ขึ้น หิ่งห้อยก็อับแสง (พ.ม.) ๓๘๘
ลัทธิของพระองค์ กับของผู้อื่น ๓๘๙
ทรงแสดงอัปปมัญญาธรรมสี่ชนิดที่สูงกว่าเดียรถีย์อื่น (พ.ม.ส.) ๓๙๐
ทรงบัญญัตินิททสบุคคลที่ไม่เนื่องด้วยพรรษาดั่งลัทธิอื่น (พ.ม.ส.) ๓๙๕
ทรงบัญญัติความหมายของคำว่า "ญาณ"-
-ไม่ตรงกับความหมายที่เดียรถีย์อื่นบัญญัติ (พ.ม.ส.) ๓๙๗
ไม่ทรงบัญญัติยืนยันหลักลัทธิเกี่ยวกับ "อัตตา" (พ.ม.ส.) ๓๙๘
ไม่ได้ทรงติการบำเพ็ญตบะไปเสียตะพึด ๓๙๙
ไม่ทรงตำหนิการบูชายัญญ์ไปเสียทั้งหมด (พ.ม.) ๔๐๐
ความบริสุทธิ์ใจของพระองค์ ในการปฏิบัติต่อลัทธิอื่น (พ.ม.ส.) ๔๐๑
(๑๖)
ลำดับเรื่อง
หน้า
กฎบางกฎที่ทรงยกเว้นให้แก่บางคน ๔๐๓
ทางแสดงหลักแห่งกรรมต่างจากพวกอื่น (พ.ม.ส.) ๔๐๔
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ถือว่า สุขทุกข์เพราะกรรมเก่าอย่างเดียว (พ.ม.) ๔๑๑
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ถือว่า สุขทุกข์เพราะการบันดาลของเจ้านาย (พ.ม.) ๔๑๓
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ถือว่า สุขทุกข์ไม่มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย (พ.ม.) ๔๑๔
ทรงมีวิธีสกัดสแกงพวกที่ถือลัทธิว่ามีอัตตา (พ.ม.ส.) ๔๑๕
ทรงระบุลัทธิมักขลิวาท ว่าเป็นลัทธิทำลายโลก (พ.ม.) ๔๑๘
จ.เกี่ยวกับการที่มีผู้อื่นเข้าใจผิด ๒๓ เรื่อง คือ:-
ทรงทำผู้มุ่งร้ายให้แพ้ภัยตัวเอง ๔๑๙
ไม่เคยทรงพรั่นพรึงในท่างกลางบริษัท ๔๒๑
ทรงสมาคมได้อย่างสนิทสนม ทุกบริษัท (พ.ม.อ.) ๔๒๒
ทรงท้าให้ใครปฏิเสธธรรมะที่พระองค์รับรอง (พ.ม.) ๔๒๓
ทรงท้าว่า ธรรมที่ทรงแสดงไม่มีใครค้านได้ (พ.ม.) ๔๒๕
ทรงยืนยันว่ามีสมณะอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น (พ.ม.) ๔๒๙
ทรงยืนยันว่า เพราะพระองค์ปรากฎ โพชฌงค์จึงปรากฎ ๔๓๑
ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ (พ.ม.) ๔๓๑
ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคงแก่พรหมจรรย์ (พ.ม.ส.) ๔๓๒
พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภเป็นอานิสงส์ (พ.ม.) ๔๓๓
ทรงบัญญัติพรหมจรรย์ในลักษณะที่บรรพชาจักไม่เป็นโมฆะ (พ.ม.ส.) ๔๓๔
พรหมจรรย์นี้ของพระองค์ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง (พ.ม.ส.) ๔๓๕
ทรงแก้ข้อที่เขาหาว่า เกียดกันทาน (พ.ม.) ๔๓๖
(๑๗) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ทรงแก้ข้อที่เขาหาว่า เป็น "กาฝากสังคม" (พ.ม.ส.) ๔๓๗
ทรงแก้ข้อที่เขาหาว่า ทรงหลง ๔๓๙
ทรงแก้คำตู่ของพวกอื่นที่ตู่ว่า เขาก็สอนเหมือนที่พระองค์สอน (พ.ม.ส.) ๔๔๐
ทรงถูกตู่ว่าตรัสว่าในสุภวิโมกข์มีความรู้สึกว่าไม่งาม (พ.ม.ส.) ๔๔๑
ทรงถูกตู่ว่าไม่บัญญัติสิ่งซึงที่แท้ได้ทรงบัญญัติแล้ว (พ.ม.ส.) ๔๔๓
ทรงถูกตู่เรื่องฉันปลาฉันเนื้อ ๔๔๔
ทรงรับว่าทรงทราบมายา แต่ไม่ทรงมีมายา (พ.ม.ส.) ๔๔๔
แง่ที่เขากล่าวหาพระองค์อย่างผิด ๆ ๔๔๗
ทรงหยามมารว่าไม่มีวันรู้จักทางของพระองค์ (พ.ม.ส.) ๔๕๐
มนุษย์บุถุชน รู้จักพระองค์น้อยเกินไป ๔๕๑
ฉ. เกี่ยวกับเหตุการณ์พิเศษบางเรื่อง ๒๒ เรื่อง คือ:-
การทรงแสดง ความพ้นเพราะสิ้นตัณหา ๔๕๙
การทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์เอง (พ.ม.ส.) ๔๖๐
การเกิดของพระองค์ ไม่กระทบกระเทือนกฎธรรมชาติ:
การทรงแสดงไตรลักษณ์ (พ.ม.) ๔๖๑
การทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท (พ.ม.ส.) ๔๖๓
ทรงแนะการบูชายัญในภายใน (พ.ม.ส.) ๔๖๔
การทรงแสดงเหตุของความเจริญ ๔๖๕
ทรงแสดงที่พึ่งไว้ สำหรับเมื่อทรงล่วงลับไปแล้ว (พ.ม.ส.) ๔๖๖
การตรัสเรื่อง "ทุกข์นี้ใครทำให้" ๔๖๗
การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร (พ.ม.ส.) ๔๖๘
(๑๘)
ลำดับเรื่อง
หน้า
การสนทนากับ "พระเหม็นคาว" (พ.ม.) ๔๖๙
การตอบคำถามของทัณฑปาณิสักกะ (พ.ม.) ๔๗๐
การสนทนากับนิครนถ์: บาปกรรมเก่าไม่อาจสิ้นด้วยทุกรกิริยา ๔๗๑
: เวทนาทั้งหลายมิใช่ผลแห่งกรรมในกาลก่อน (พ.ม.ส.) ๔๗๓
: การให้ผลของกรรมไม่อาจเปลี่ยนได้-
-ด้วยตบะของนิครนถ์ (พ.ม.ส.) ๔๗๕
การสนทนากะเทวดา เรื่องวิมุตติของภิกษุณี (พ.ม.อ.) ๔๗๙
การสนทนากะเทวดา เรื่องอปริหานิยธรรม (พ.ม.ส.) ๔๗๙
การสนทนาเรื่อง ที่สุดโลก ๔๘๐
การสนทนาเรื่อง ลัทธิซึ่งสมมติกันว่าเลิศ (พ.ม.ส.) ๔๘๒
การตรัสเรื่อง "มหาภูต" ไม่หยั่งลงในที่ไหน (พ.ม.อ.) ๔๘๓
การมาเฝ้าของตายนเทพบุตร ๔๘๕
การมาเฝ้าของอนาถปิณฑิกเทพบุตร ๔๘๖
การมาเฝ้าของจาตุมมหาราช ๔๘๗
การข่มลิจฉวีบุตร ผู้มัวเมาในปาฏิหาริย์ ๔๙๐
การสนทนากับปริพพาชก ชื่อมัณฑิยะและชาลิยะ (พ.ม.ส.) ๔๙๒
การสนทนาเรื่อง เครื่องสนุกของพระอริยเจ้า (พ.ม.ส.) ๔๙๕
ผนวกพุทธประวัติฯ ภาค ๔
เรื่องเบ็ดเตล็ดตรมเสียงของคนนอก (๒๔ เรื่อง)
คำชี้แจงสำหรับเรื่องผนวกแห่งภาค ๔ ๔๙๙
(๑๙) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
เสียงกระฉ่อนทั่ว ๆ ไป: ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ-
-ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ๕๐๐
เสียงของผู้สรรเสริญธรรมเทศนา : ทรงมีธรรมเทศนาเป็นแสงสว่าง (พ.ม.) ๕๐๑
เสียงปริพพาชก วัจฉโคตร : ทรงแสดงหลักสำคัญตรงกับ-
-สาวกอย่างน่าอัศจรรย์ (พ.ม.ส.) ๕๐๑
: ทรงมีคำสอนที่เป็นแก่นแท้ล้วนๆ (พ.ม.) ๕๐๒
: ทรงประดิษฐานศาสนพรมจรรย์ได้บริบูรณ์ (พ.ม.ส.) ๕๐๓
เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ : "โอวาทของพระโคดมเป็นยอด" (พ.ม.) ๕๐๔
เสียงสัจจกะนิครนถบุตร : "เจอะพระโคดมแล้ว ไม่มีรอดไปได้" (พ.ม.) ๕๐๕
เสียงของเจ้าลิจฉวี ทุมมุขะ : ทรงหักล้างปรปักษ์-
-เหมือนเด็กรุมกันต่อยก้ามปู (พ.ม.) ๕๐๖
เสียงปริพพาชก คณะแม่น้ำสัปปินี : ไม่มีช่องทางที่-
-ใครจะขันสู้พระผู้มีพระภาค (พ.ม.) ๕๐๗
เสียงสังคมวิญญูชน : ทรงปฏบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น-
-(ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน) (พ.ม.ส.) ๕๐๗
: สาวกของพระองค์ปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น-
-(ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน) (พ.ม.ส.) ๕๐๙
เสียงวัชชิยมาหิตคหบดี : ทรงเป็นวิภัชชวาที มิใช่เอกํสวาที (พ.ม.ส.) ๕๑๐
เสียงโปฏฐปาทปริพพาชก : ทรงบัญญัติหลักเรื่อง "ตถา" (พ.ม.ส.) ๕๑๑
เสียงปิโลติกะ ปริพพาชก : ทรงมีคุณธรรมลึก-
-จนผู้อื่นได้แต่เพียงอนุมานเอา (พ.ม.) ๕๑๒
(๒๐)
ลำดับเรื่อง
หน้า
เสียงปิงคิยานีพราหมณ์ : ทรงอยู่เหนือคำสรรเสริญ-
-ของคนธรรมดา (พ.ม.ส.) ๕๑๖
เสียงวัสสการพราหมณ์ : ทรงมีคุณธรรมสูง ๔ ประการ (พ.ม.) ๕๑๙
เสียงอัตถากามเทพ : ทรงทราบมุทธาและมุทธาธิบาต (พ.ม.ส.) ๕๒๐
เสียงหัตถกเทวบุตร : ทรงอัดแออยู่ด้วยบริษัทนานาชนิด (พ.ม.) ๕๒๑
เสียงเทวดาบางตน : ใครดูหมิ่นความอดทนของพระโคดม-
-ก็เท่ากับคนไม่มีตา (พ.ม.ส.) ๕๒๒
เสียงท้าวสักกะจอมเทพ : ทรงพระคุณที่ชอบใจเทวดา ๘ ประการ (พ.ม.ส.) ๕๒๒
เสียงโลหิจจพราหมณ์ : ทรงมีอนามัยเป็นอย่างดี ๕๒๕
: ทรงดึงผมช่วยคนจะตกเหวไว้ได้ (พ.ม.ส.) ๕๒๕
เสียงโสณทัณฑพราหมณ์ : ทรงมีคุณสมบัติสูงทุกประการ ๕๒๖
เสียงอุตตรมาณพ : ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ๕๓๐
: ทรงมีลีลาศสง่า งดงาม ๕๓๐
: ทรงมีมรรยาทเป็นสง่า น่าเลื่อมใส ๕๓๑
: ไม่ทรงตื่นเต้นพระทัยในบ้าน ๕๓๑
: ทรงฉันภัตตาหารในหมู่บ้าน เรียบร้อยนัก ๕๓๑
: ไม่ทรงติดในรสอาหาร ๕๓๒
: ทรงมีวัตรในบาตร ๕๓๒
: การเสด็จกลับจากฉันในหมู่บ้าน ๕๓๓
: ทรงนุ่งห่มกระทัดรัด ๕๓๓
: ทรงมุ่งแต่ความเกื้อกูลสัตว์ ๕๓๓
: ทรงแสดงธรรมด้วยพระสำเนียงมีองค์ ๘ ๕๓๔
d00103
(๒๑) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
เสียงอุบาลีคหบดีบุรพนิครนถ์ : ทรงประกอบด้วย-
-พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ (พ.ม.ส.) ๕๓๕
เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล : ทรงมีคณะสงฆ์ที่ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ๕๔๐
: ทรงมีคณะสงฆ์ที่พร้อมเพรียง ๕๔๑
: ทรงมีคณะสงฆ์ที่ชุ่มชื่นผ่องใส ๕๔๑
: ทรงมีสังฆบริษัทที่เงียบเสียง ๕๔๒
: ทรงชนะคนมุ่งร้ายที่เข้าเฝ้า ๕๔๓
: ทรงสามารถปราบโจรที่มหากษัตริย์ก็ปราบไม่ได้ (พ.ม.ส.) ๕๔๔
: ทรงชนะน้ำใจคนโดยทางธรรม ๕๔๖
: ทรงเสมอกับพระเจ้าโกศลโดยวัย ๕๔๖
เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ : ทรงคบแลไม่ทรงคบบุคคลเช่นไร (พ.ม.) ๕๔๗
เสียงแห่งมาร : ทรงตัดรอนอำนาจมารเหมือนเด็กริดรอนก้ามปู (พ.ม.ส.) ๕๔๘
: ทรงเป็นก้อนหินให้กาโง่สำคัญว่ามันข้น (พ.ม.ส.) ๕๔๙
: ไม่มีใครนำพระองค์ไปได้ด้วยราคะ ๕๔๙
: ศัตรูประสบผลเหมือนเอาศีรษะชนภูเขา (พ.ม.ส.) ๕๕๐
ภาค ๕
การปรินิพพาน (๑๐ เรื่อง)
แปดสิบปียังไม่ฟั่นเฟือน ๕๕๓
ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป (พ.ม.ส.) ๕๕๔
ทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว ๕๕๕
(๒๒)
ลำดับเรื่อง
หน้า
เรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนหน้าปรินิพพาน :
การตรัสภิกษุอปริหานิยธรรม ๕๕๖
เสด็จสวนอัมพลัฏฐิกา ๕๕๗
เสด็จเมืองนาลันทา ๕๕๘
เสด็จบ้านปาฏลิคาม ๕๕๘
เสด็จบ้านโกฏิคาม ๕๕๙
เสด็จหมู่บ้านนาทิกะ ๕๕๙
เสด็จเมืองเวสาลี ๕๖๑
เสด็จบ้านเวฬุวคาม ๕๖๑
เสด็จทิวาวิหาร ที่ปาวาลเจดีย์ ๕๖๒
ทรงปลงอายุสังขาร ๕๖๓
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร (พ.ม.ส.) ๕๖๔
เสด็จป่ามหาวัน ๕๖๔
เสด็จบ้านภัณฑคาม ๕๖๕
เสด็จบ้านหัตถิคาม โดยลำดับ ถึงโภคนคร ๕๖๖
เสด็จเมืองปาวา ๕๖๗
เสด็จเมืองกุสินารา ๕๖๗
การปรินิพพาน หรือ การประทับสีหเสยยาครั้งสุดท้าย :
แวะป่าสาละ ให้จัดที่ปรินิพพาน ๕๖๙
ตรัสเรื่องการบูชาอย่างแท้จริง ๕๗๐
เทวดามาเนืองแน่น จึงทรงขับพระอุปวาณะ ๕๗๐
ตรัสเรื่องการจัดทำเกี่ยวกับพระสรีระ ๕๗๑
(๒๓) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - ลำดับเรื่อง
หน้า
ตรัสเรื่องเมืองกุสาวดี ๕๗๒
ให้ไปบอกมัลลกษัตริย์ ๕๗๒
โปรดสุภัททปริพพาชก ๕๗๓
ตรัสเรื่องธรรมวินัยนี้ ไม่ว่างจากศาสดา ๕๗๓
ตรัสวิธีการร้องเรียก ทักทาย ๕๗๓
ให้เลิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย ๕๗๓
ให้ลงพรหมทัณฑ์ฉันนภิกษุ ๕๗๔
ตรัสถามความเคลือบแคลง ๕๗๔
ปัจฉิมวาจา ๕๗๔
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการปรินิพพาน ๕๗๕
เราเห็นพระองค์ได้ ชั่วเวลาที่ยังปรากฎพระกาย ๕๗๕
การปรินิพพานของพระองค์ คือความทุกข์ร้อนของมหาชน (พ.ม.) ๕๗๖
สังเวชนียสถาน ภายหลังพุทธปรินิพพาน (พ.ม.) ๕๗๗
ภาค ๖
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ (๒๐ เรื่อง)
คำชี้แจงเกี่ยวกับภาค ๖ ๕๘๑
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์ ๕๘๒
ตลอดวัฏฏสงสาร ไม่เคยทรงบังเกิดในสุทธาวาส ๕๘๒
ในวัฏฏสงสาร เคยทรงบูชายัญญ์ และบำเรอไฟ มาแล้วเป็นอย่างมาก ๕๘๓
ทิฏฐานุคติแห่งความดี ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ ๕๘๔
(๒๔)
ลำดับเรื่อง
หน้า
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม, สักกะ, ฯลฯ (พ.ม.อ.) ๕๘๗
ครั้งมีพระชาติเป็น โชติปาลมาณพ ๕๘๘
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเจ้ามหาสุทัศน์ ๕๙๑
ครั้งมีพระชาติเป็น ปุโรหิต สอนการบูชายัญญ์ ๕๙๔
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเจ้ามฆเทวราช ๕๙๖
ครั้งมีพระชาติเป็น มหาโควินทพราหมณ์ ๕๙๙
ครั้งมีพระชาติเป็น รถการ ช่างทำรถ (พ.ม.) ๖๐๐
ครั้งมีพระชาติเป็น อกิตติดาบส ๖๐๓
ครั้งมีพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ๖๐๔
ครั้งมีพระชาติเป็น สังขพราหมณ์ ๖๐๕
ครั้งมีพระชาติเป็น เวลามพราหมณ์ (พ.ม.) ๖๐๕
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเวสสันดร ๖๐๗
ครั้งมีพระชาติเป็น มาตังคชฎิล ๖๑๑
ครั้งมีพระชาติเป็น จูฬโพธิ ๖๑๑
ครั้งมีพระชาติเป็น เจ้าชายยุธัญชยะ ๖๑๒
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์ ๖๑๓
ปทานุกรม เริ่มแต่หน้า ๖๑๕
ลำดับหมดธรรม เริ่มแต่หน้า ๖๙๓
วิธีใช้หนังสือเล่มนี้
(ก) มีวิธีลัดและไม่ชวนเบื่อสำหรับผู้ที่เป็นนักธรรม หรือนักเทศน์อยู่ก่อน แล้ว ในการที่จะให้ได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ ให้ยิ่งขึ้นไป คือ:- (๑) อ่านเรื่องที่มีอยู่ในเล่ม เฉพาะตอนที่รู้สึกว่าไม่เคยได้ยินมาก่อน อย่างสนใจ ให้ตลอดเสียเที่ยวหนึ่งก่อน. (๒) แล้วใช้เวลาครั้งต่อ ๆ ไป เพียงแต่เปิดดูเฉพาะปทานุกรมท้ายเล่ม ไปทีละคำตามลำดับของปทานุกรม เมื่อดูถึงคำใด ต้องให้เนื้อความ หรือความหมายของคำคำนั้นปรากฎแจ่มแจ้งแก่ท่านทั้งหลาย อย่าง ทั่วถึงและถูกต้องทันที, เพราะท่านเคยศึกษาธรรมะมามากแล้ว. ถ้าเนื้อความไม่ปรากฎแจ่มแจ้งออกมาได้ ซึ่งจะเป็นในตอนแรก ๆ ก็หมายความว่าท่านยังไม่คุ้นเคยกับหนังสือเล่มนี้ก็ได้ หรือเพราะ ท่านยังไม่รู้ความหมายแห่งคำคำนั้นก็ได้ ท่านต้องเปิดดูเนื้อเรื่อง ในเล่ม ตามตัวเลขซึ่งบอกหน้าหนังสืออยู่ท้ายคำนั้นแล้ว. บางคำ จะถึงกับทำให้ท่านฉงน คิดไม่ออก เช่นคำว่า การไถนา, เครื่อง ดักปลา, ความมีขนตกราบแล้ว, ปู, ปูก้ามหัก, ร้องเจี๊ยบ ๆ, ดังนี้เป็นต้น, ท่านไม่ควรคิดเสียว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญสำหรับท่าน. ท่านจะต้องศึกษาจนทราบความหมายอันเร้นลับของคำให้จนได้, เช่นคำว่า ปู หมายถึงคนเจ้าทิฎฐิอวดดีด้วยลัทธิของตน ได้แก่ เดียรถีย์อื่นบางคนที่มีทิฎฐิยักไปยักมา เหมือนปูชูก้าม ดังนี้เป็นต้น. ซึ่งสรุปความได้ว่า คำว่า ปู นั้น พระองค์ตรัสใช้เป็นคำเปรียบ เรียกคนเจ้าทิฎฐิอวดดี. ถ้าท่านดูปทานุกรมไปตามลำดับ แล้วไม่มี
๒ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - วิธีใช้หนังสือเล่มนี้
อะไรที่รบกวนประสาทหรือรบกวนความสงสัยของท่านเลย ก็แปลว่า ท่านมีความรู้ธรรมะในแนวนี้อย่างลึกซึ้งและทั่วถึง ชนิดที่ผู้รวบรวม ขอยอมเป็นศิษย์. (๓) เมื่อท่านจะเทศน์ หรือจะเขียนบทความบรรยายธรรมะ ท่านอาจจะ ไปติดอยู่ที่ความหมายของคำบางคำ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีความหมาย อันแท้จริงอย่างไร ท่านอาจใช้การค้นดูได้ง่าย ๆ จากปทานุกรมนี้, หรือเมื่อท่านสงสัยว่าคำคำนั้น หรือเรื่องเรื่องนั้น มีที่มาในเรื่องอะไร หรือสูตรใดกันแน่ ทั้งที่ท่านเข้าใจความหมายดีแล้ว แต่อยากจะได้ที่มา อันเป็นหลักฐาน หรืออยากทราบว่าพระองค์ได้ตรัสไว้เองอย่างไร ท่านสมควรที่จะเปิดดูจนพบที่มา หรือพบพระพุทธภาษิตเรื่องนั้น ๆ , ไม่นานเท่าใด ท่านจะมีความคล่องแคล่วต่อการเทศน์หรือการเขียน ที่มีหลักฐาน.
(ข) สำหรับผู้ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมทางใจโดยเฉพาะ ท่านมีวิธีใช้หนังสือเล่มนี้ ชนิดที่เพื่อนฝูงของท่านได้เคยใช้เป็นประโยชน์มาแล้ว ดังนี้คือ:- (๑) เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรม ตามรอย พระยุคลบาทโดยตรง ให้ทั่วถึงทุกเรื่อง ด้วยความสนใจเป็นพิเศษ เสียเที่ยวหนึ่งก่อน เพราะอย่างน้อย จะต้องมีเรื่องที่ท่านไม่เคยได้ยิน ได้ฟังอยู่บางเรื่อง (๒) ใช้เวลาเป็นประจำวัน ทบทวนความจำและความเข้าใจของท่าน โดยใช้คำในปทานุกรมเป็นหลัก แต่ต้องเป็นคำเฉพาะของเรื่องที่ เกี่ยวกับการเจริญภาวนาโดยตรง. ซึ่งอาจจะจัดทำในรูปการ
วิธีใช้หนังสือเล่มนี้ ๓
สากัจฉา หรือให้ผู้อื่นช่วยตั้งคำถาม แล้วให้ท่านตอบ. เช่นเขา จะเปิดปทานุกรมแล้วเลือกคำขึ้นถามท่านว่า คำเหล่านี้หมายความว่า อย่างไร : การกำหนดรู้กามสัญญา, ข้อปฏิบัติเพื่อความเจริญ แห่งอิทธิบาท, ความปรากฎแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง, ความ เพ่งรูปจนเกินไป, ความมีอำนาจเหนือจิตในคลองแห่งวิตก ทั้งหลาย, จงกรมแก้ความขลาด, จำแสงสว่างได้แต่ไม่เห็นรูป, จับนกกระจาบหลวมมือเกิน, ตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก, "จับนกตายในมือ", สมาธิเคลื่อน, สมาธิน้อย, อุพพิละ, ฉัมภิตัตตะ, ฯลฯ. (๓) เลือกอ่านเฉพาะเรื่อง ที่อาจตอบปัญหา ทางภาวนาได้เป็นอย่างดี อยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะคือเรื่องต่าง ๆ ที่ทรงขวนขวายก่อนหน้าการตรัสรู้ และเรื่องคุณธรรมต่าง ๆ ที่เกิดมีในพระองค์. คำบัญญัติบางคำ เช่นคำว่า ปฐมฌาน เป็นต้น ต้องอ่านคำที่เป็นคำอธิบายด้วยการ ขบคิดไปอย่างละเอียดทีละคำ ๆ ทุก ๆ คำ จนกว่าจะหมดคำอธิบาย ของคำบัญญัติคำเดียวนั้น. มีผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ ตามป่าตามเขา ได้ผลดีกว่าการอ่านตามบ้านเมือง (ค) สำหรับนักศึกษาทั่วไป โยเฉพาะพวกที่ไม่คุ้นกับวัด หรือไม่เคยบวชเรียน จะต้องศึกษาด้วยวิธีดังนี้คือ:- (๑) ศึกษาเล่าความเรื่องราวแห่งพุทธประวัติทั่ว ๆ ไป จากหนังสือชั้นต้น ๆ เล่มอื่นเสียก่อนพอสมควร, เพราะในหนังสือเล่มนี้ เรียงไว้แต่เรื่อง ที่เป็นการตรัสเล่าประเภทเดียวเท่านั้น ถ้าท่านไม่เคยศึกษาพุทธประวัติ
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ - วิธีใช้หนังสือเล่มนี้
มาก่อนเลย ท่านอาจจะงงไปบ้างในที่บางแห่ง. แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ที่ท่านจะเข้าใจ ถ้าพยายามต่อไปอีกเพียงเล็กน้อย ในการสังเกตข้อความ ที่เนื่องกันอยู่, หรือไต่ถามผู้ที่เคยเรียนพุทธประวัติชั้นต้น ๆ มาแล้วก็ได้. (๒) อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างคร่าว ๆ เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อให้รู้แนวความ ของเรื่อง เฉพาะส่วนที่เป็นท้องเรื่อง หรือประวัติ ว่ามีอยู่อย่างไร, วิธีที่สะดวกก็คือ อ่านสารบาญเรื่องดูหลาย ๆ เที่ยวก่อน แล้วจึง เปิดอ่านเรื่องบางเรื่องที่ชวนสงสัย ดูเรื่อย ๆ ไป. (๓) ใช้ปทานุกรมท้ายเล่ม เป็นการออกปัญหาถามท่านเองอยู่เสมอ คำใดสงสัย หรือชวนคิด ก็เปิดดูบ่อย ๆ จนไม่มีคำที่ชวนสงสัย มากเกินไป. (ง) สำหรับอุบาสกอุบาสิกา ที่เคยชินกับการฟังเรื่องปฐมสมโพธิมามากแล้ว จะต้องอ่านด้วยใจที่เป็นอิสระพอที่จะฟังเรื่องที่แปลกไปจากที่ตนเคยได้ยินได้ฟัง ไม่ปิดประตูขังตัวเองอยู่แต่ในห้องที่มีอะไรซ้ำซากเพียงอย่างเดียว.
(จ) สำหรับนักประพันธ์ ที่จะต้องบรรยายชีวิตคนในแง่ต่าง ๆจะต้องอ่านด้วยความระมัดระวัง เพื่อจะได้ไม่ระบายสีที่ผิดพลาดลงไปในชีวประวัติของพระพุทธองค์ ในเมื่อจะมีการเปรียบเทียบหรืออ้างถึง เมื่อทำได้ดีที่สุดในเรื่องนี้แล้ว นักประพันธ์จะเป็นพวกที่ทำคำสอนหรือเรื่องราวของพระองค์ให้แพร่หลายได้ดีที่สุดกว่าพวกอื่น. - แนวที่มุ่งให้เกิดศรัทธา – เน้นการนำเสนอปาฏิหาริย์หรือ
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ชุ... ราคา 350.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
ชุด-อริยสัจจากพระโอษฐ์-ภาคต้น-ภาคปลาย-700บาท
รหัส : thamma1 ราคา : 700.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 12,102 -
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ชุดธรรมโฆษณ์ของหลวงพ่อพุทธทาส
รหัส : 1แถบน้ำตาล ราคา : 350.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2024 ผู้เข้าชม : 9,441ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์-ชุดจากพระโอษฐ์
รหัส : 4แถบน้ำตาล ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 23/05/2011 ผู้เข้าชม : 15,535 -
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์จากพระโอษฐ์-1850บาท
รหัส : ชุดธรรมโฆษณ์จากพระโอษฐ์-1850บาท ราคา : 1,850.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2023 ผู้เข้าชม : 2,752