สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,423,420 |
เปิดเพจ | 17,078,198 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พุทธิกจริยธรรม-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
18แถบแดง
-
เข้าชม
1,885 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
28/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง พุทธิกจริยธรรม
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 523 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ชื่อหนังสือ พุทธิกจริยาธรรม เล่มที่ ๑๘
น.๑
สารบาญ
๑. แนวสังเขปทั่วไปเกี่ยวกับจริยธรรม ๑
๒. จริยธรรมมีเพียงแนวเดียว ๒๙
๓. อุปสรรค, ศัตรู, ความรวนเร และความพังทลายของจริยธรรม ๖๓
๔. มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม ๖๗
๕. จุดหมายปลายทางของจริยธรรม ๑๓๐
๖. ตัวแท้ของจริยธรรม ๑๖๙
๗. จริยธรรมในชีวิตประจำวัน ๑๓๐
๘. จริยธรรมประเภทเครื่องมือ ๒๔๗
๙. การธำรงรักษา และการเผยแพร่จริยธรรม ๒๘๖
๑๐. อุดมคติของครูตามทัศนะคติทางฝ่ายพุทธศาสนา ๓๒๓
๑๑. บรมธรรม ๓๔๙
๑๒. เอกายนมรรค ๓๗๙
๑๓. มนุษย์ - ศูนย์ ๔๐๙
๑๔. อุดมคติของครูตามความหมายของพุทธศาสนา ๔๓๗
๑๕. ครุฐานียบุคคล ๔๙๑
๑๖. ทัศนคติเกี่ยวกับจริยศึกษา ๔๖๗
เพื่อความละเอียดในการค้น พึงใช้สารบาญละเอียดในหน้าถัดไป
..........................................................................................................................................
ปาฐกถาชุด แนะแนวจริยธรรม ครั้งที่ ๑
เรื่อง
แนวสังเขปทั่วไปเกี่ยวกับจริยธรรม
พระราชชัยกวี (พุทธทาส อินฺทปญฺโณ)
บรรยายอบรมครูส่วนกลาง ที่หอประชุมคุรุสภา
๕ มกราคม ๒๕๐๕
ท่านที่เรียกตัวเองว่าครูทั้งหลาย ซึ่งมีท่านรัฐมนตรีเป็นประธาน
อาตมาจะไม่กล่าวคำบรรยายนี้โดยมุ่งหมายบุคคลประเภทอื่น นอกจากประเภทที่เรียกตัว
เองว่าเป็นครู;เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าการบรรยายนั้นไม่มีผลสมบูรณ์สำหรับผู้อื่นนอกจากวงของบุคคลที่
เรียกตัวเองว่าเป็นครูอาตมาก็ต้องขออภัย.
สำหรับการบรรยายในวันแรกนี้ อาตมาเห็นว่าเป็นความเหมาะสมหรือว่าจำเป็นที่จะกล่าว
ได้แต่เพียงข้อความนำเรื่อง ในแนวสังเขปทั่วไปเท่าที่เห็นว่าจำเป็นจะต้องกล่าวก่อนเพื่อให้เข้าใจ
การบรรยายครั้งหลังๆได้ดีนั่นเองเพราะฉะนั้นข้อความที่จะกล่าวในวันนี้จึงเป็นทำนอง introduction
ไปแทบทั้งหมดเพื่อให้ท่านที่ สนใจ โดยเฉพาะคือท่านที่จะรับการอบรมในแนวของจริยธรรม
น.๒
เพื่อประโยชน์แก่การสอนเยาวชนนั้นได้เข้าใจแนวสังเขปล่วงหน้าไปทุกแง่ทุกมุมที่ควรจะเข้าใจ ทั้งนี้
เพราะว่าเราได้เข้าใจแม้แต่คำต่างๆนั้นต่างกันมากในทางความหมาย แม้แต่คำว่า "ครู" ขอจงได้ให้
โอกาสหรือให้อภัยแก่อาตมาในการที่จะแสดงทัศนะต่างๆ ออกไป ตามที่เห็นว่าเป็นไปตามอุดมคติของ
พุทธศาสนาแม้ที่สุดแต่คำว่า "ครู" อาตมาก็ยังเห็นว่า เมื่อกล่าวไปตามอุดมคติของพุทธศาสนาแล้วจะมี
ความหมายผิดแปลกแตกต่างจากที่เคยเข้าใจกันอยู่ตามธรรมดาไม่มากก็น้อยดังนั้นข้อแรกที่จะขอร้องให้
สนใจพินิจพิจารณา ก็คือความหมายของคำว่า "ครู".
ถ้าเราเปิดดิคชันนารีสันสกฤตชนิดที่อาศัยเป็นหลักเกณฑ์ได้ดูที่คำว่าครูคือคำว่าคุรุเราจะพบคำ
แปลว่า spiritual guide; ไม่มีคำว่า teacher หรืออะไรทำนองนั้นอันนี้ก็เป็นจุดตั้งต้นอันหนึ่ง
แล้วที่ได้แสดงว่าความหมายของคำว่าครูนี้คืออะไรกันแน่ ถ้ายิ่งเราไปเล็งถึงคำว่า "พระบรมศาสดา"
ซึ่งแปลว่า"พระบรมครู" ด้วยแล้วจะยิ่งเห็นว่าความหมายของคำว่า "ครู" นั้นคือ spiritualguide
ยิ่งขึ้นไปอีก; เพราะเหตุว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของเรานั้น ท่านเป็นผู้นำ
ในทางวิญญาณจริงๆ คือเป็นผู้นำในทางด้านจิตหรือด้านวิญญาณจริงๆ พวกที่เขียนดิคชันนารีที่ให้คำแปลว่า
spiritual suide นั้น เขาก็ไม่ได้เป็นพุทธบริษัท เขาเป็นคนธรรมดา แต่เมื่อถือเอาความหมายดัง
ที่มีอยู่ในประเทศอินเดียทั่วๆไป และโดยเฉพาะในสมัยที่แล้วมามันทำให้เขาจับความหมายได้อย่างนั้น
แม้จะสอบถามกันอย่างไรก็ยังได้ความหมายเป็น spiritual guideเรื่อยไปแทนที่จะเป็นคำว่า
teacher หรืออะไรตื้นๆ ฉะนั้น จึงขอให้เราทั้งหลายทุกคนถือเอาความหมายของคำว่าครูนั้นว่า
"guide" หรือผู้นำในด้านจิตหรือ"ด้านวิญญาณ" จะเป็นการถูกต้องตามความหมายเดิมของหรือผู้นำใน
ด้านจิตหรือ "ด้านวิญญาณ" จะเป็นการถูกต้องตามความหมายเดิมของคำๆ นี้ และเป็นไปตามอุดมคติ
ของพระพุทธศาสนาด้วยพร้อมกันไปในตัว.
การที่เราถือเอาความหมายของคำว่าครูตามอุดมคตินี้เท่านั้นที่จะช่วยให้ครูทั้งหลายตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นปูชนียบุคคลพันจากความเป็นลูกจ้างอาตมา
น.๓
ขอร้องให้ท่านทั้งหลายได้สนใจในคำว่าปูชนียบุคคล กับคำว่าลูกจ้าง อีกครั้งหนึ่ง สมัยนี้มีคนชอบพูดกันว่า
ข้าราชการเป็นลูกจ้างแต่อาตมาอยากจะขอร้องให้สนใจความหมายเดิม ว่า piritual guide นี้ ตั้ง
อยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคล เช่นพระพุทธเจ้าเป็นต้น spirit แท้จริงของครูจะหมายถึงความเป็น
ลูกจ้างไม่ได้; ตั้งแต่โบราณกาลมาจนบัดนี้ก็ยังไม่ได้; แต่ที่ครูบางคนได้ทำตนกลายเป็นลูกจ้างไปนั้น;
ต้องถือว่าเป็นเรื่องพิเศษ จะเอาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ไม่ได้ แม้คำบัญญัติในวงราชการ ว่าข้าราชการเป็น
ลูกจ้างประชาชนนี่ก็ต้องไม่เอามาใช่แก่ครูซึ่งมีspiritของครูจริงๆ; เพราะถ้าครูตกเป็นลูกจ้างเสีย
แล้ว จะเกิดปัญหายุ่งยากขึ้นเป็นอันมาก ปูชนียบุคคลจะต้องมีอุดมคติที่เป็นอิสระเสมอไปในการที่จะทำ
หน้าที่ของตน ถ้าจะจัดให้เป็นลูกจ้าง ก็ควรจะให้เป็นในความหมายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งที่แท้มันก็ไม่ควรจะ
เป็นลูกจ้าง : เช่นบรรพชิตมีหน้าที่สอนผู้อื่น แล้วก็รับปัจจัย ๔ เพียงมีชีวิตอยู่ได้ ใครบ้างจะเรียกปัจจัย
๔ ที่ได้รับนั้นว่าค่าจ้าง คงจะไม่มี ; เพราะฉะนั้นขอให้ครูถือเอาอุดมคติอย่างนี้ อย่างเดียวกัน และ
ไม่สำนึกตัวเป็นลูกจ้าง แต่สำนึกตัวเป็นบุคคลที่เห็นแก่เพื่อนมนุษย์และทำหน้าที่สุดความสามารถ แล้วรับ
ประโยชน์เท่าที่จะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงไม่ต้าองไปทำไร่ทำนาเองก็มีชิวิตอยู่ได้; อย่างนี้ก็จะเป็นปูชนีย
บุคคลเข้ากลุ่มสาวกคณะ spiritual guide ไปทันที่ พ้นจากความเป็นลูกจ้างทั้งๆ ที่ใครเขาจะ
เหมาว่าเป็นลูกจ้าง การที่เรามีอุดมคติอย่างนี้จะช่วยให้เป็นการง่ายมาก ที่ครูจะมีความเสียสละและ
นิยมชมชอบในสถานะของตน ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามสถานะของครูว่าเป็นเพียงเรือจ้าง คือมาเป็นครู
เพียงเพื่อจะอาศัยโอกาสเวลาศึกษาวิชาความรู้อย่างอื่นแล้วก็สอบผ่านไปดำรงตำแหน่งหรือมีอาชีพอย่างอื่น
ซึ่งไม่ใช่ครู นี่แหละคือผลของการเข้าใจผิดต่อคำที่ว่าสถานะของครูคือปูชนียบุคคลจึงได้เกิดดูถูกเหยียด
หยาม กลายเป็นอาชีพเรือจ้างชั่งครั้งชั่วคราวไปถ้าเราจะบำเพ็ญตนเป็นครูที่สำเร็จประโยชน์แท้จริง
แล้ว ขอให้ถืออุดมคติที่ว่าครูคือบุคคลผู้นำในสถานะทางจิตหรือทางวิญญาณเสมอไป; และถ้า
น.๔
เราจะดูกันให้กว้างๆก็พอจะเข้ากันได้ในทางที่จะกล่าวว่า วิชาความรู้ทุกอย่างล้วนแต่เป็น
การยกสถานะทางวิญญาณให้สูงขึ้นทั้งนั้น; แม้ที่สุดแต่วิชาเลข วิชาวาดเขียน ถ้าทำกันจริงๆก็ช่วยให้เกิด
ความฉลาดในทางจิตใจเกิดสติสัมปชัญญะชั้นที่ดีกว่าที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติอย่างนี้ก็เรียกว่า
เป็นการยกสถานะทางวิญญาณได้บ้างเหมือนกัน;เพราะฉะนั้นเราจะมุ่งหมายให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปใน
ลักษณะที่เป็นการยกสถานะทางวิญญาณทั้งนั้น;แม้ว่าการยกสถานะทางวิญญาณแท้จริงนั้นหมายถึงการอบรม
สั่งสอนในด้านจิตใจโดยตรง ให้เป็นผู้มีดวงจิตหรือวิญญาณอยู่เหนือการครอบงำของธรรมชาติ
ฝ่ายต่ำหรือกิเลสทั้งหมด ในบรรดาชื่อของกิเลสทั้งหลายในพุทธศาสนาซึ่งเราจะได้กล่าวกันในวันหลัง
อาตมาอยากจะขอร้องวิงวอนให้ถืออุดมคติที่ว่าการเคลื่อนไหวของครูทุกกระเบียดนิ้ว และทุกๆ นาที่ทุก
เวลานี้ ขอให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นการยกสถานะทางวิญญาณของคนในโลกเสมอไป นับตั้งแต่เด็กเล็กๆ
ขึ้นไป เมื่อมีความมุ่งหมายดังนี้แล้ว จะเกิดอาการที่เป็นไปเองคือเป็นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร
จะมีความแจ่มแจ้งเกิดขึ้นในทางที่จะทำให้สถานะทางวิญญาณของเด็กเล็กๆ สูงขึ้นไปตามลำดับ ไม่
เพียงแต่สอนให้รู้เรื่องธรรมดาสามัญอย่างเดียว นี่เรียกว่า ความหมายของคำว่าครู ซึ่งอยากจะให้
มองเห็นกันโดยแนวนี้เป็นการ introduce ครูเข้าไปสู่พระบรมครูคือพระศาสดาของเรา.
ที่นี้ก็มาถึงคำว่า การศึกษา เมื่อคำว่าครูมีความหมายว่าผู้ยกสถานะทางวิญญาณแล้ว คำว่า
การศึกษษก็อย่างเดียวกัน คือหมายถึงการยกสถานะทางวิญญาณสำหรับข้อนี้ อยากจะขอให้เพ่งเล็งถึงคำ
ว่า สิกฺขา ในภาษาบาลี ซึ่งตรงกับคำว่าศึกษาในภาษาไทย หรือศิกฺษาในภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีที่
เป็นหลัก
น.๕
ธรรมะโดยตรง เรามีคำว่าไตรสิกขา คือสิกขา ๓ อย่าง หรือการศึกษา ๓ อย่าง แต่แล้วสิกขา ๓
อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เป็การยกสถานะทางวิญญาณโดยแท้ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ล้วน
แต่เป็นการกระทำที่เป็นการยกสถานะทางวิญญาณทั้งนั้น ไม่ไใช่เป็นเพียงการบอกเล่าให้ท่องจำ หรือ
ตอบปัญหาได้แล้วก็เพียงพอ; แต่ว่าต้องเป็นการปฏิบัติชนิดที่ให้เกิดความสูงในทางจิตวิญญาณจริงๆ; ดัง
นั้นจึงถือว่าคำว่าสิกขานี้มีความหมายเป็นการประพฤติปฏิบัติ; มิได้หมายเพียงการศึกษาเล่าเรียน แต่
เป็นการประพฤติปฏิบัติชนิดที่ทำวิญญาณหรือจิตใจให้สูงจริงๆ ที่นี้เราจะเอามาใช้กับการศึกษาทั่วไปนี้
ได้อย่างไร เรื่องก็คงจะไม่ยาก เรื่องจะมีอยู่ว่าเราจะไม่ให้การศึกษาแต่งเพียงสักว่าวิชาความรู้สำหรับ
จดจำไปตอบปัญหาได้ สอบผ่านไปได้แล้วเลิกกัน เราจะต้องให้สิ่งที่เรียกว่าการศึกษานั้น เป็นการ
ประพฤติ การกระทำหรือเป็นการอบรมให้มีการประพฤติกระทำชนิดที่ให้เกิดความสูงในทางจิตหรือทาง
วิญญาณจริงๆ ถ้าเป็นดังนี้แล้วคำว่าศึกษาในภาษาไทยเรา ก็เป็นอย่างเดียวกับคำว่าศึกษา หรือ สิกขา
แม้ในสมัยพุทธกาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือในวงการของพระพุทธศาสนา เมื่อเป็นดังนั้นคำว่าศึกษา
ของเรา ก็ยังคงเป็นคำที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องสมบูรณ์ ไม่เว้าๆ แหว่งๆ คือเป็นเพียงการพูดให้ฟัง
การจดการจำ แล้วก็ตอบปัญหาให้ได้เท่านั้น แต่จะเป็นการทำชนิดที่มีผลจริงๆ คือเป็นการทำจิตใจหรือ
วิญญาณของผู้รับการศึกษานั้นสูงขึ้นจริงๆ นี่คือคำว่าการศึกษา เมื่อคำว่าครูกับคำว่าการศึกษามีความ
หมายที่เป็นอุดมคติอย่างนี้แล้ว จะเข้าใจหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาต่อไปได้โดยง่ายที่สุด อาตมาจึง
ขอร้องหรือวิงวอนว่า ลองตั้งแนวคิดกันใหม่ในรูปนี้ เพื่อความเข้าใจหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาโดย
เร็ว
สิ่งที่จะต้องปรับความเข้าใจอีกคำหนึงก็คือคำว่า ธรรมะ เพราะว่าเราประสงค์จะอบรม
สั่งสอนสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ หรือรู้ธรรมะ และปฏิบัติธรรมะ และ
น.๖
ได้ผลจากธรรมะ ไม่มีอะไรนอกไปจากธรรมะ แม้สิ่งที่เรียกว่าจริยธรรมในที่นี้ที่เป็นความมุ่งหมาย
ของการเปิดอบรมในที่นี้ ก็ยังรวมอยู่ในคำว่าธรรมะนั้นเอง; แต่ว่าอาตมาจะขอถือโอกาสกล่าวเสีย
เลยในที่นี้ว่า สำหรับเราพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจคำว่าธรรมะนี้ให้เต็มความหมายจองคำๆนี้ เพื่อ
ประโยชน์แก่ความรู้ที่กว้างออกไป คำว่าธรรมะนี้ ในภาษาบาลี หรือภาษาธรรมะ นับว่าเป็นคำที่
ประหลาดที่สุด คือหมายถึง สิ่งทุกสิ่ง หรือถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่าธรรมะก็แปลว่า "สิ่ง"
หรือ "thing" เท่านั้นเอง และหมายถึงทุกสิ่งโดยไม่ยกเว้นอะไร ถ้ากล่าวอย่างโวหารธรรมดาสามัญ
ที่สุดก็คือว่า นับตั้งแต่สิ่งที่ไร้ค่าที่สุด เช่นฝุ่นสักอนุภาคหนึ่ง จนกระทั่งถึงสสารวัตถุทุกอย่าง จนกระทั่งถึง
เรื่องทางจิตใจ คือถึงตัวพระนิพพานที่เดียว ทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในคำว่า "ธรรม" นี้เพียงคำเดียว ทีนี้
เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาที่ชัดเจน ก็ควรจะเพ่งดูกันให้ละเอียดไปกว่านั้น.
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พุทธิกจริยธรรม-ธรรมโฆษณ์ ราคา 250.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,650